The Agenda South
“พิพัฒน์” เผยข่าวดี กระทรวงแรงงาน รับสมัครคนไทยไปทำงานมาเก๊า เงินเดือนสูงกว่า 9 หมื่น
“พิพัฒน์ รัชกิจประการ” รมว.แรงงาน เผยข่าวดี กระทรวงแรงงาน รับสมัครคนไทยไปทำงานมาเก๊า ภาคการท่องเที่ยว เงินเดือนสูงกว่า 9 หมื่นบาท
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน เปิดรับสมัครคนไทยไปทำงานในเขตบริหารพิเศษมาเก๊า กับนายจ้างบริษัท MGM Grand Paradise Limited ซึ่งประกอบกิจการสถานคาสิโน ร้านอาหาร และโรงแรม จำนวน 5 ตำแหน่ง 120 อัตรา ได้แก่ ช่างทำผม โฮสต์การตลาดระหว่างประเทศ พนักงานบริการลูกค้า พนักงานต้อนรับ และพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม วีไอพี อัตราเงินเดือนอยู่ระหว่าง 70,749 – 92,059 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567 : 1 เหรียญมาเก๊า เท่ากับ 4.262 บาท) โดยนายจ้างจะจ่ายค่าโดยสารเครื่องบินไป - กลับ เมื่อทำงานสิ้นสุดสัญญาจ้าง ช่วยจ่ายค่าที่พักเดือนละ 500 เหรียญมาเก๊า จัดอาหารให้ในช่วงเวลาทำงาน มีค่าล่วงเวลา และสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานมาเก๊า ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ที่เว็ปไซต์ toea.doe.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 9 - 20 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ (ยกเว้นในวันที่ 20 กันยายน 2567 ยื่นใบสมัครได้ถึงเวลา 12.00 น.)
“กระทรวงแรงงาน สนับสนุนให้คนไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาโดยตลอด เพราะนอกจากทำให้แรงงานไทยมีโอกาสทางอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตตนเองและครอบครัวได้แล้ว เม็ดเงินที่ได้รับยังถูกส่งกลับมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป” รมว. แรงงาน กล่าว
ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า สำหรับวิธีการคัดเลือกในครั้งนี้นายจ้างจะเป็นผู้คัดเลือกด้วยตนเอง ซึ่งคุณสมบัติที่นายจ้างต้องการเบื้องต้นจะต้องสื่อสารภาษาอังกฤษ และภาษาจีนกลางหรือภาษกวางตุ้งได้ บุคลิกภาพดี มีใจรักการบริการ สามารถทำงานเป็นกะได้ โดยทั้ง 5 ตำแหน่ง มีรายละเอียด ดังนี้
1. ช่างทำผม จำนวน 20 อัตรา เพศหญิง อายุไม่เกิน 40 ปี ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 เซนติเมตร วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีใบประกาศนียบัตรช่างทำผม/ช่างทำสีผม หากมีประสบการณ์ทำงานในโรงแรมระดับ 5 ดาว 1 ปีขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ค่าจ้างเดือนละ 21,600 เหรียญมาเก๊า หรือ ประมาณ 92,059 บาท
2. โฮสต์การตลาดระหว่างประเทศ จำนวน 30 อัตรา เพศชายหรือหญิง อายุไม่เกิน 35 ปี ส่วนสูง ไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีประสบการณ์ทำงานในโรงแรมระดับ 5 ดาว 1 ปีขึ้นไป ในด้านการบริการลูกค้า ค่าจ้างเดือนละ 19,500 เหรียญมาเก๊า หรือ ประมาณ 83,109 บาท
3. พนักงานบริการลูกค้า จำนวน 30 อัตรา เพศชาย อายุไม่เกิน 35 ปี ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 180 เซนติเมตร วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ค่าจ้างเดือนละ 17,500 เหรียญมาเก๊า หรือ ประมาณ 74,585 บาท
4. พนักงานต้อนรับ จำนวน 20 อัตรา เพศหญิง อายุไม่เกิน 35 ปี ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 170 เซนติเมตร วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ค่าจ้างเดือนละ 17,500 เหรียญมาเก๊า หรือ ประมาณ 74,585 บาท
5. พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม วีไอพี จำนวน 20 อัตรา เพศหญิง อายุไม่เกิน 35 ปี ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 เซนติเมตร วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ค่าจ้างเดือนละ 16,600 เหรียญมาเก๊า หรือ ประมาณ 70,749 บาท
สำหรับการรับสมัครในครั้งนี้เป็นการดำเนินการเพื่อจัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยวิธีรัฐจัดส่ง คนหางานไม่เสียค่าสมัครหรือค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำงานจะมีค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ได้แก่ ค่าถ่ายรูป ค่าทำหนังสือเดินทาง (กรณียังไม่มี) ค่าตรวจสุขภาพ ค่าตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ค่าสมัครสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 4,000 บาท โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดคุณสมบัติของแต่ละตำแหน่งและวิธีการรับสมัครได้ที่เว็บไซต์กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ doe.go.th/overseas หัวข้อ “ข่าวประกาศรับสมัคร” หรือ Facebook : แรงงานไทยไปต่างประเทศโดยรัฐจัดส่ง และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2245 1034 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
กงสุลใหญ่จีนประจำจังหวัดสงขลา ร่วมเสวนากับ “ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล” สมาชิกวุฒิสภา
“อู๋ ตงเหมย” กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลา ร่วมเสวนากับ “ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล” สมาชิกวุฒิสภา 30 ปีของความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ไทย-จีนในภาคใต้
ที่ห้องรับรองบ้านพัก กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำ จ.สงขลา นางอู่ ตงเหมย กงสุลใหญ่สาธารณประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลา ได้เชิญนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา จ.สงขลา ร่วมเสวนาถึงความก้าวหน้าของมิตรภาพไทย-จีน ในโอกาสคครบรอบ 30 ปี ของการต่อตั้ง สำนักงานกงสุลประจำจังหวัดสงขลา
โดยนางอู๋ ตงเหมย กล่าวว่า สถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1994 รวมเวลาเกือบ 30 ปีแล้ว การก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาได้สร้างสะพานแห่งใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมีอระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย และแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนที่ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างจีนและไทย ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ 30 ปีอาจเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ 30 ปีที่ผ่านมาเป็น 30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของประเทศจีน และเป็น 30 ปีแห่งความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ของมิตรภาพจีน-ไทย ผมขอใช้โอกาสพิเศษในวาระครบรอบ 30 ปีของการสถาปนานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาเพื่อย้อนประวัติอันน่าตื่นเต้นและเป็นแรงบันดาลใจของพวกเราร่วมกัน 30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของจีน
30 ปีที่แล้ว GDP ของจีนมีมูลค่า 600,000 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้หลัง คือปี 2023 GDP ของจีนมีมูลค่ามากกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 18% ของเศรษฐกิจโลก ในปี 1994 เศรษฐจีนอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก มาในปี 2010 จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และเป็นประเทศอุดสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีอุตสาหกรรมครบทุกประเภทตามการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมของสหประชาชาติ โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่ทรงพลังที่สุด และมีการพัฒนาขีดความสามารถด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
เศรษฐกิจของจีนมีขนาดมหึมา การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูงของเศรษฐกิจจีนย่อมเป็นแรงผลักดันสำคัญสาหรับการเติมโดของเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้ขยายการเปิดกว้างสู่โลกภายนอกและยกระดับการเปิดกว้างอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของจีน ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าหลักของประเทศและภูมิภาคต่างๆ มากกว่า 140 ประเทศท้าโลก และเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่อันดับสองของโลก นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหรือ Belt and Road Initiative เมื่อปี 2013 จีนได้ดึงดูดประเทศต่างๆ มากกว่า 150 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 30 องค์กรเข้าร่วม ซึ่งโครงการ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับนานาชาติที่ได้รับความนิยมและเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งแรงขับเคลื่อนใหม่ๆ ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องจีนยินดีแบ่งปันการพัฒนาของตนเองเพื่อมอบโอกาสใหม่ๆ ให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก "เค้ก" ของความร่วมมือแบบ win-win ชาติที่หอมหวาน จีนยินดีทำงานร่วมกับมิตรประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพื่อสร้าง "เค้ก" ที่ใหญ่ขึ้นและดีขึ้น และแบ่งปันประโยชน์จากกพัฒนาของจีน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนมีส่วนร่วมในการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเฉลี่ยปีละกว่า 30% ในปี 2023 ท่ามกลางเศรษฐกิจโลก.ที่ฟื้นตัวอย่างยากลำบากและเผชิญความไม่แม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นของอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก เศรษฐกิจจีนมีส่วนสนับสนนการเต็มโดของเศรษฐกิจโลกถึง 32% และกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกอีกครั้ง
30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยอย่างครอบคลุม จีน-ไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ เป็นญาติที่ดีด้วยสายเลือด และเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่มีอนาคตร่วมกัน ตั้งแต่ "แถลงการณ์ร่วม" ปี 2001 ที่รัฐบาลจีนและไทยบรรลุฉันทามติในการส่งเสริมความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน จนถึงปี2012 ที่ทั้งสองประเทศได้เริ่มต้นความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน และปี 2022 ที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เยือนประเทศไทยและร่วมกับผู้นำรัฐบาลไทยในการสร้างเป้าหมายยุคใหม่ของ "ประชาดิมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทย" จนถึงปี 2023 ที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เยือนประเทศจีน และได้แลกเปลี่ยนเชิงลึกกับผู้นำจีนเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างสองประเทศ และบรรลุฉันทามติอย่างกว้างขวาง ทำให้ทั้งสองประเทศมีความไว้วางใจทางการเมืองต่อกันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศมีการเยือนระหว่างกันเหมือนเครือญาติ ผู้นำจีนหลายคนเคยมาเยือนประเทศไทย ราชวงศ์ไทย ผู้นำรัฐบาล รัฐสภา และผู้นำกองทัพของไทยก็ได้เยือนจีนหลายครั้งเช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์จีน-ไทยรักษาโมเมนตัมการพัฒนาที่มั่นคงและแข็งแรงมาโดยดลอด และกลายเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองและพัฒนาร่วมกัน
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ขนาดการค้าระหว่างจีนและไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จีนกลายเป็นคู่คำรายใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแหล่งเงินทุนต่างประเทศที่สำคัญที่สุด เป็นประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สำคัญที่สุด และเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของไทย ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ปริมาณการค้าจีน-ไทยทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ประเทศไทยเป็นฐานสำคัญของโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ที่มีคุณภาพสูง ภายใต้กรอบของ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังจีนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2023 การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังจีนมีมูลค่าร่วม 11,262 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 42% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้น 6.19% เมื่อเทียบเป็นรายปีการส่งออกทุเรียนไทยไปยังจีนคิดเป็น 70% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนปีนี้ไทยส่งออกทุเรียนสดไปยังจีนถึง 225,000 ตัน ธุรกิจจีนมีการลงทุนในไทยอย่างแข็งขัน ในปี2023 การลงทุนโดยตรงของจีนในประเทศไทยมีมูลค่า 4,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 109% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีส่วนช่วยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการจ้างงานของไทยอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนะไทยมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ประเทศไทยเป็นหนึ่งใงในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน ในปี 2023 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาเยือนประเทศไทย 3.52 ล้านคน สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้ไทยกว่า 196,700 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมปีนี้ จีนและไทยได้เข้าสู่ "ยุคปลอดวีซ่า" จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งจีนมาไทยและไท่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ มีนักท่องเที่ยวจีนประเทศไทย 2.352 ล้านคน ซึ่งกว่าชาติอื่นๆในช่วงเวลาดังกล่าว วันที่1 มีนาคม มีนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 3 เท่า เพิ่มขึ้นม60% เมื่อเทียบกับปี 2019 ในช่วงก่อนโควิด นักศึกษาจีนยังคงศึกษาต่างชาติกลุ่มหลักในรั้วมหาวิทยาลัยไทย ในภาคการศึกษาของปีการศึกษา 2023 มีนักศึกษาจีนในสถาบันอุดมศึกษาของ21,906 คน คิดเป็น 60% ของนักศึกษาต่างชาติทั้งหมดในประเทศไทย
30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีชีวิตชีวาของความร่วมมือระหว่างจีนกับภาคใต้ของไทย ภาคใต้ของไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ จีนมีตลาดขนาดใหญ่และมีฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง ทั้งสองฝ่ายมีส่วนส่งเสริมระหว่างกันอย่างมากในด้านเศรษฐกิจ การสงอองออกเนื่อง ในปี 2023 ไทยส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 4.267 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 2.057 ล้านต้นส่งออกไปจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยางที่ผลิตในภาคใต้ ในปี 2023 ประเทศไทยสงออกทเรียนไปยังจีนจำนวน 945,000 ต้นเฉพาะจังหวัดชุมพรเพียงจังหวัดเดียวก็ส่งออกทเรียนไปยังจีนถึง400,000 ตัน ผลไม้อื่นๆ จากภาคใต้ เช่น มะพร้าว สับปะรด กล้วยมะม่วง ฯลฯ ก็เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีนเช่นกัน การลงทุนและการสร้างโรงงานของบริษัทจีนในพื้นที่ภาคใต้ของไทยได้ช่วยแก้ปัญหาการดำรงชีพของคนท้องถิ่นจำนวนมาก เช่น การจ้างงาน การกำจัดขยะและแหล่งจ่ายไฟฟ้า เป็นต้น อีกทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคใต้ของไทย การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและภาคใต้ของไทยด่าเนินไปอย่างต่อเนื่อง ชาวใต้มีความสนใจในภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนจีนในภายได้ได้ผลิตทูตสันถวไมตรีระหว่างจีน-ไทยจำนวนมาก ภาคใต้อุดมไปด้วยทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ภูเก็ดสมย และหลีเป๊ะเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวจีน ในสื่อสังคมออนไลน์ของจีน มีนักท่องเที่ยวจีนจำนวนนับไม่ถ้วนได้แบ่งปันความทรงจำดีๆ ขณะไปท่องเที่ยวในสถานที่เหล่านี้30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงมิตรภาพจีน-ไทยที่เรียกว่า"ไทยจีนใช่อื่นใกล พี่น้องกัน" ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง คนจีนและไทยมีมิตรภาพอันยาวนานและมีความใกล้ชิดเหมือนครอบครัวเดียวกันนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ประชาชนทั้งสองประเทศได้ร่วมทุกร่วมสุขกัน ช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ร่วมกันเอาชนะภัยพิบัติทางธรรมชาติ ร่วมกันตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน และร่วมกันส่งเสริมการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ เราจะไม่มีวันลืมว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งแรกในปี 2019 รัฐบาลและประชาชนทุกสาขาอาชีพในไทย รวมถึงประชาชนในภาคใต้ ต่างมีความห่วงใยกับความปลอดภัยของประชาชนในเมืองอู่ฮั่น และได้จัดกิจกรรม "อู่ฮั่นสู้ๆ"โดยร่วมกันบริจาคเงินและสิ่งของให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ติดอยู่ในประเทศไทยและรักษาผู้ป่วยชาวจีนที่คิดเชื้อในประเทศไทยโดยทันทีในทำนองเดียวกัน หลังจากเกิดการแพร่ระบาดในประเทศไทย ฝ่ายจีนก็ได้จัดหาอุปกรณ์ป้องกัน แบ่งปันประสบการณ์ในการรับมือ และจัดหาวัคขืนให้กับประเทศไทยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนเกิดเรื่องที่น่าประทับใจครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งสองฝ่ายได้ใช้การปฏิบัติจริงอธิบายถึงมิตรภาพอันลึกซึ้งสมกับคำกล่าวที่ว่า "จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน"ตั้งแต่ข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งที่สงขลา ข้าพเจ้ามักจะไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆในเขตรับผิดชอบ ได้พบปะพุดคุยกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล และนักศึกษา ได้รู้จักเพื่อนมากมาย ในทุกพื้นที่เข้าจะได้สัมผัสถึงความกระตือรือร้นอย่างมากของผู้นำท้องถิ่นและระชาชนภาคใต้ต่อความปรารถนาในการสร้างความร่วมมือกับจีน นับตั้งแต่ก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่ประจ่าสงขลา เพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ได้ให้การสนับสนุนเรามากมายอย่างประเป็นค่ามิใต้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลใหญ่จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันหลายครั้งแต่มิตรภาพระหว่างเราไม่เคยเปลี่ยน และยังคงสัมผัสได้ถึงมิตรภาพอันลึกซึ้งที่ทุกท่านมอบให้เราเสมอมา ข้าพเจ้าขอใช้โอกาสนี้ เป็นของเจ้าหน้าที่ทุกคนของสถานกงสุลใหญ่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อประชาชนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ของประเทศไทยที่ห่วงใยและสนับสนุนการดำเนินงานของสถานกงสุลใหญ่มาโดยตลอดเมื่อย้อนมองความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของความร่วมร่วมมือจีน-ไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เรามีความมั่นใจเต็มเปี่ยมต่ออนาคดข้างหน้า จีนกำลังพัฒนา ความสัมพันธ์จีน-ไทยกำลังเผชิญกับโอกาสครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ความร่วมมือระหว่างจีนกับภาคใต้ของไทยมีอนาคตที่สดใสนี้ถือเป็นวาระครบรอบ 75 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีหน้าจะเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย บนจุดเริ่มต้นครั้งใหม่ทางประวัติศาสตร์นี้ สถานกงสุลใหญ่จีนประจ่าสงขลายินดีทำงานร่วมกับเพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ของไทย เพื่อดำเนินการตามฉันทามติที่สำคัญของผู้นำผู้น่าทั้งสองประเทศ และมุ่งมันที่จะเร่งสร้างชุมชนที่มีอนาคดร่วมกันระหว่างจีนไทยที่มีความมั่นคง รุ่งเรือง และยังยืนมากขึ้น โปรดจับมือกันต่อไป ร่วมกันต่อสู้เพื่อส่งเสริมมิตรภาพอันดีระหว่างจีน-ไทย ส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย
เยาวชนไทยถึงลียงแล้ว! เตรียมพร้อมสู้ศึก WorldSkills Lyon 2024 วันที่ 11 ก.ย.นี้
เยาวชนไทยถึงลียงแล้ว! เตรียมพร้อมสู้ศึก WorldSkills Lyon 2024 หรือการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 47 ในวันที่ 11 ก.ย.นี้
นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้เยาวชนตัวแทนประเทศไทยทั้ง 22 คน ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 47 หรือ WorldSkills Lyon 2024 ได้เดินทางถึงเมืองลียง สาธารณรัฐฝรั่งเศสแล้ว ในเวลาประมาณ 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 7 กันยายน 2567 ผ่านมา หลังจากนี้น้องๆ ทั้ง 22 คนจะต้องเข้าทดลองใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการแข่งขัน ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำให้น้องๆ จะได้ทำความคุ้นเคยกับเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ในการแข่งขันจริง นำมาวางแผนการแข่งขันเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญหรือควบคุมทีมกันต่อไป หลังจากนั้นในวันที่ 10 กันยายน 2567 จะเป็นกิจกรรม One School One Country ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของประเทศเจ้าภาพ และเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันได้ผ่อนคลายก่อนลงสนามแข่งขัน และช่วงเย็นในวันเดียวกัน จะเป็นพิธีเปิดการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 47 หรือ WorldSkills Lyon 2024 อย่างเป็นทางการ ณ LCDC Arena โดยเริ่มการแข่งขันในวันที่ 11-14 กันยายน 2567 สำหรับการแข่งขันจะมีโจทย์มาให้ทำในแต่ละวัน เก็บคะแนนไปจนถึงวันสุดท้าย และในวันที่ 15 กันยายน 2567 จะเป็นการประกาศผลและพิธีปิดการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 47 หรือ WorldSkills Lyon 2024 ณ Groupama Stadium สาธารณรัฐฝรั่งเศส
นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวต่อว่า สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ตนเองและทีมงานของกระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะไปร่วมพิธีเปิดและให้กำลังใจน้องๆ เยาวชนไทยทั้ง 22 คนด้วย สำหรับก่อนวันแข่งขัน ขอให้น้องๆ ทุกคนพักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสุขภาพร่างกายให้พร้อม และทำให้เต็มที่ จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยร่วมให้กำลังใจเยาวชนไทยทั้ง 22 คนในการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 47 หรือ WorldSkills Lyon 2024 ครั้งนี้ด้วย โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของการแข่งขันได้ที่เพจเฟซบุ๊กของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และเพจ Worldskill Thailand
กระทรวงแรงงานมอบถุงยังชีพส่งต่อธารน้ำใจช่วยผู้ประสบอุทกภัย
กระทรวงแรงงานมอบถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด เพื่อส่งต่อธารน้ำใจนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย
วันที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 16.00 น. นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานมอบถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด ให้กับ นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อส่งต่อธารน้ำใจนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยมี นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นายสมพจน์ กวางแก้ว ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน นายศักดินาถ สนธิศักดิ์โยธิน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วม ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารกระทรวงแรงงาน
นายไพโรจน์ กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องผู้ใช้แรงงานและพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยในขณะนี้ แม้ว่าบางพื้นที่น้ำเริ่มลดลงและอยู่ระหว่างการฟื้นฟู เพื่อกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่น้ำยังท่วมอยู่และประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในวันนี้ กระทรวงแรงงาน จึงได้จัดทำถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด มอบให้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัย เป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการ
“กระทรวงแรงงาน ขอขอบคุณทุกภาคส่วน ที่ช่วยกันสนับสนุนสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งในวันนี้ ผมได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด ให้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นการส่งต่อธารน้ำใจนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นอกจากนี้ ผมยังได้สั่งการให้แรงงานจังหวัดพร้อมหน่วยงานในสังกัดจัดทีมเจ้าหน้าที่เพื่อออกหน่วยบริการด้านแรงงานให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อาทิ การซ่อมแซมบ้านเรือน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซ่อมรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตรที่เสียหายจากน้ำท่วม รวมทั้งรับสมัครงาน ฝึกอบรมอาชีพให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแรงงานและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมเพื่อฟื้นฟูในพื้นที่ที่น้ำลดอีกด้วย” นายไพโรจน์ กล่าว
ทั้งนี้ หากลูกจ้าง นายจ้าง และพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยได้รับความเดือดร้อนและต้องการขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และ วช. ร่วมเปิดน่านฟ้า จัดการแสดงบินโดรนแปรอักษรสุดล้ำ
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ร่วมเปิดน่านฟ้า จัดการแสดงบินโดรนแปรอักษรสุดล้ำ
เมื่อช่วงค่ำของวันที่ (31 ส.ค.) นายประเสริฐ บุญประสพ นายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี พร้อมนายรักพงษ์ แซ่ตั้ง รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา ในการเป็นประธานเปิดโครงการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดรนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว: ภาคใต้ “กิจกรรมการแสดงโดรนแปรอักษรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในเดือนแห่งวันแม่แห่งชาติ” ณ บริเวณลานสะพานนริศ (หน้าวัดกลางเก่า)
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เปิดน่านฟ้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรม “SURATTHANI DRONE LIGHT SHOW” ซึ่งเป็นการแสดงบินโดรนแปรอักษร จำนวน 500 ลำ ทำการแสดงวันละ 2 รอบ ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 5 กันยายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์นำเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรฝีมือคนไทยมาแสดงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ประชาชนภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงผู้ที่สนใจได้มีโอกาสชมโดรนแปรอักษรอย่างใกล้ชิด
รวมคลิป
Live : [2] #แฟลชม็อบหาดใหญ่ ร่วมคัดค้านประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และการจับกุมผู้ชุมนุม จากหน้าค่ายเสนาณรงค์
Live : #แฟลชม็อบหาดใหญ่ ร่วมคัดค้านประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และการจับกุมผู้ชุมนุม จากหน้าค่ายเสนาณรงค์
สถานการณ์ - ปรากฎการณ์
1 หมื่น อัตรา! "พิพัฒน์ - สุรศักดิ์" จับมือ นำ นักเรียน นักศึกษา ทำงานช่วงปิดภาคเรียน MOU 22 ธุรกิจเอกชน สร้างรายได้ลดรายจ่ายขยายโอกาสตั้งแต่วัยเรียน
วันที่ 19 กันยายน 2567 ที่กระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้นักเรียน นักศึกษา ช่วงปิดภาคเรียน โดยมีนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวรายงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง กระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในงาน ผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนจากสถานประกอบ 22 แห่ง ร่วมลงนาม
นายพิพัฒน์กล่าวว่า ตามนโยบายของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการสร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนได้มีโอกาสในการทำงาน การได้รับสิทธิคุ้มครองและผลตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนไทยทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นิสิต และนักศึกษา ที่เป็นหนึ่งในกำลังแรงงานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต กระทรวงแรงงานจึงได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้นักเรียน นักศึกษาในช่วงปิดภาคเรียนหรือช่วงว่างจากการเรียนขึ้น ระหว่างกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับสถานประกอบการชั้นนำอีก 22 แห่ง พร้อมทั้งจัดเตรียมตำแหน่งงานทั่วประเทศ รองรับการทำงานของ นักเรียน นิสิต และ นักศึกษา จำนวนกว่า 10,000 อัตรา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของกำลังแรงงานในอนาคตให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงลักษณะงาน ความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในด้านทักษะและกายภาย รวมถึง นำประสบการณ์จากการทำงานจริงมาใช้เพื่อการวางแผนการยกระดับความสามารถและพัฒนาทักษะของตนเองให้มีความเหมาะสมและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานภายหลังจากจบการศึกษา และยังเป็นการสร้างรายได้ตั้งแต่วัยเรียนลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้อีกด้วย
ด้านนายสุรศักดิ์กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ และขอชื่นชมกระทรวงแรงงานที่สร้างโอกาส สนับสนุน นักเรียน นักศึกษา ที่ประสงค์จะทำงานให้มีงานทำที่เหมาะสม ได้รับประสบการณ์จากการทำงานจริง ได้เรียนรู้โลกของอาชีพ ซึ่งในส่วนของสถาบันการศึกษาจะร่วมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการมีงานทำ และกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสม ตรงตามความต้องการของนักเรียน นักศึกษา และตลาดแรงงานต่อไป
ขณะที่นายสมชายกล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ เป็นความตั้งใจและความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วน ที่จะสร้างกรอบความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษามีงานทำ ทั้งด้านพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ ตลอดจนคุ้มครองการทำงานแก่นักเรียน นักศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยกรมการจัดหางาน จะทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน รับสมัครนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการจะทำงาน และส่งตัวไปสถานประกอบการเพื่อพิจารณาบรรจุงาน ในส่วนของสถานประกอบการจะจัดส่งตำแหน่งงานว่างที่เหมาะสมสำหรับนักเรียน นักศึกษาให้กรมการจัดหางานเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดหางาน รวมทั้งประชาสัมพันธ์การรับสมัครงานผ่านช่องทางการรับสมัครงานต่าง ๆ ของสถานประกอบการ
ทั้งนี้ นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการหางานทำสามารถใช้บริการที่เว็บไซต์ “ไทยมีงานทำ.doe.go.th” หรือแอปพลิเคชัน “ไทยมีงานทำ” โดยคนหางานค้นหาข้อมูลตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ในตำแหน่งงานตามพื้นที่และภูมิลำเนา รวมถึงจับคู่ตำแหน่งงานจากความรู้ ความสามารถ และทักษะที่มีอยู่ ส่วนนายจ้าง สถานประกอบการ ที่ต้องการเพิ่มช่องทางรับสมัครงาน ลงทะเบียนนายจ้าง เพื่อประกาศตำแหน่งงาน และคัดลอกรายชื่อผู้หางาน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน 1694
ในส่วนสถานประกอบการชั้นนำอีก 22 แห่ง ประกอบด้วย เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เดอะมอลล์ กรุ๊ป แมคไทย เชสเตอร์ฟู้ด ซูกิชิ พีทีจี เอ็นเนอยี ซีพี แอ็กซ์ตร้า เคที เรสทัวรองท์ เซ็น คอร์ปอเรชั่น เอส เอฟ บีเอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ โจนส์สลัด มีทชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล ฟู้ด คอฟฟี่ คอนเซ็ปต์ รีเทล บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ โออิชิ กรุ๊ป บางจากรีเทล อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ปลูกผักเพราะรักแม่ และแบล็ค แคนยอน
คึกคัก! บุญแรกรับตายาย ทั้งเจ้าเงาะป่าและเปรตรอรับที่วัดโคกศักดิ์
วัดโคกศักดิ์ ต.พังลา อ.สะเดา จ.สงขลา จัดให้มีประเพณีรับส่งตายาย โดยวันนี้เป็นวันรับตายาย มีทั้งเจ้าเงาะป่าและเปรตมารอรับอย่างคึกคัก
วันนี้ 18 กันยายน 2567 ที่วัดโคกศักดิ์ ต.พังลา อ.สะเดา จ.สงขลา จัดให้มีประเพณีรับ - ส่งตายาย เป็นประเพณีทำบุญวันสารทในเดือนสิบ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกท้องที่ในจังหวัดสงขลา เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูอย่างสูงยิ่งต่อบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทุกครอบครัวไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ช่วงเวลา วันรับตายาย จะตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ในวันนี้ชาวสงขลาไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด มักเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อประกอบกิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะเป็นการกระทำเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูแล้ว ยังเป็นการพบปะสังสรรค์ระหว่างญาติพี่น้องอีกด้วย ชาวบ้านทุกครอบครัวจะจัดอาหารคาวหวาน ดอกไม้ธูปเทียน ไปทำบุญที่วัด
วันส่งตายาย จะตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งการทำบุญวันส่งตายายจึงมีความสำคัญพอกัน แต่ในวันส่งตายายจะจัดเตรียมอาหารคาวหวาน ต่าง ๆ เป็นพิเศษ พร้อมของใช้ในครัวเรือน เชื่อว่าจัดเตรียมให้ตายายนำกลับไปใช้
รมว.ยุติธรรมพบสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จชต. หนุนนำศาสนาสร้างพื้นที่สีขาว
รมว.ยุติธรรม พบสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จชต. มอบนโยบายหนุนนำศาสนาสร้างพื้นที่สีขาว ปลอดยาเสพติดในชายแดนใต้ ดึงเยาวชนสู่ครรลองของศาสนา
วันนี้ (18 กันยายน 2567) เวลา 08:00 น. สมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าพบ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อหารือแลกเปลี่ยนแนวทางการ ทำงานเกี่ยวกับ “การจัดการและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันการศึกษาปอเนาะ” ณ โรงแรมอัลมีรอซ กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายนิยม เติมศรีสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายรวิศ สองส่อง หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายกิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต.(สถ.) นายมูฮำมัดซูวรี สาแล นายกสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วม
เคียงข้างคนไทยทุกวิกฤต ก.พลังงาน–กฟผ.ร่วมช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จ.เชียงราย
คนไทยไม่ทิ้งกัน กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. เดินหน้าเคียงข้างคนไทยทุกวิกฤต ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.เชียงราย ส่งมอบถุงยังชีพกว่า 3,000 ชุด
วันที่ 14 กันยายน 2567 นายจรัญ คำเงิน รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วย นายธวัชชัย สำราญวานิช รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. นายปรศักดิ์ งามสมภาค พลังงานจังหวัดเชียงราย และคณะผู้บริหาร กฟผ. ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยส่งมอบถุงยังชีพ 1,000 ชุด พร้อมน้ำดื่มน้ำใจ กฟผ. จำนวน 1,000 แพ็ค แจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่สาย วัดพรหมวิหาร หมู่บ้านปิยพร ม.13 ชุมชนบ้านยาง ม.6 บ้านเหมืองแดง หมู่ 1 บ้านเวียงหอม ม.4 และบ้านป่าซาง
นอกจากนี้ จะทยอยส่งมอบถุงยังชีพ และน้ำดื่มน้ำใจ กฟผ. อีกกว่า 2,000 ชุด ดังนี้ 1) วันที่ 16 กันยายน 2567 มอบถุงยังชีพและน้ำดื่ม 500 ชุด แก่พื้นที่อำเภอแม่จัน 2) วันที่ 16 กันยายน 2567 มอบถุงยังชีพและน้ำดื่ม 500 ชุด แก่พื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง และ 3) วันที่ 17 กันยายน 2567 มอบถุงยังชีพและน้ำดื่ม 1,000 ชุด แก่พื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย และยังคงช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องต่อไป
กฟผ. ได้ติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการระบายน้ำที่เหมาะสม ต่อการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย โดยสถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ณ วันที่ 14 กันยายน 2567 มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ที่ 6,843 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่าง ยังสามารถรับน้ำได้อีก 6,619 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 49 ซึ่ง กฟผ. ได้ระบายน้ำขั้นต่ำที่สุดเพื่อให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการรักษาระบบนิเวศท้ายเขื่อน วันละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร
ด้านเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ที่ 7,826 ร้อยละ 18 มีแผนการระบายน้ำวันละ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ ติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำของ กฟผ. ได้จาก https://water.egat.co.th/ หรือทางแอปพลิเคชัน EGAT One
เคียงข่าว - วิเคราะห์
เปิดเบื้องลึกจับ “แป้ง นาโหนด” ขยายผลคดีเรียกค่าไถ่ 3 หนุ่มอินโดนีเซียที่พัทลุง
ตำรวจอินโดฯ ขยายผลจากการที่ตำรวจไทยบุกช่วยชาวอินโดฯ ที่ถูกจับตัวเรียกค่าไถ่ที่ จ.พัทลุง พบความจริงเป็นตัวประกันแก๊งค์ค้ายาติดเงินค่าไอซ์ 2 ล้านบาท ส่งลูกน้องมาเป็นตัวประกันให้ “แป้ง นาโหนด” ขยายผลจนจับตัวได้
วันนี้ (30 พ.ค.) จากกรณีที่มีการจับกุมตัวนักโทษชายเชาวลิต ทองด้วง หรือ “แป้ง นาโหนด” ได้ที่ประเทศอินโดนีเซียนั้น มีรายงานว่า นายเชาวลิตยังคงมีพฤติกรรมค้ายาเสพติดข้ามชาติผ่านกลุ่มค้ายาเสพติดใน จ.พัทลุงและสงขลา มีลูกค้าเป็นชาวอินโดนีเซีย
ล่าสุดเมื่อต้นเดือน พ.ค. แป้ง นาโหนดได้ขายยาเสพติดให้แก็งค์ค้ายา ชาวอินโดนีเซีย ส่งยาไอซ์ล๊อตใหญ่ ให้ แต่พ่อค้าชาวอินโดนีเซียมีปัญหาเงินค่ายาไม่พอ ยังค้างอยู่ 2 ล้านบาท พ่อค้าชาวอินโดนีเซียจึงให้เพื่อนร่วมแก๊งค์ชื่อนายชาวาลาเป็นตัวประกัน โดยมีชาวไทยจาก จ.นราธิวาส 2 คน ทำหน้าที่เป็นล่าม และซัดทอดตำรวจหญิงประจำ บชภ.9 ว่าเป็นคนขับรถมารับคนทั้ง 3 ไปควบคุมตัวไว้ที่บ้านหลังหนึ่ง ใน ต.ท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง
แต่หลังจากที่สมุนของแป้ง นาโหนด ควบคุมตัวนาย ชาวาลา ไว้หลายวัน แก๊งค์ยาเสพติดยังจ่ายเงิน 2 ล้านบาทให้แป้งไม่ได้ นายชาวาลาต้องการให้สมุนของแป้งปล่อยตัว แต่สมุนของแป้งไม่ยอม จึงมีการจัดฉากว่าถูกจับตัวมาเรียกค่าไถ่ และถูกซ้อมทรมานพร้อมทั้งส่งคลิปให้น้องสาว ที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซียให้โอนเงิน 2 ล้านบาทมาไถ่ตัว
น้องสาวนายชาวาลา โอนเงินมาเพียง 8 แสนบาท และได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจอินโดนีเซียว่า พี่ชายถูกแก็งค์เรียกค่าไถ่ ที่ จ.พัทลุง จับกุมและซ้อมทรมาน โดยส่งโลเคชั่น สถานที่ควบคุมตัวที่ พัทลุง ให้ตำรวจด้วย ตำรวจอินโดฯ จึงประสานงานกับสถานฑูตอินโดในประเทศไทย และสถานกงสุลใหญ่อินโดฯ ใน จ.สงขลา มีการแจ้งให้ ผบช.ภ.9 พล.ต.ท. ปิยะวัฒน์ เฉลิมศรี ดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งตำรวจได้บุกไปช่วยออกมาจากบ้านพี่ของภรรยานายเชาวลิต เมื่อวันที่ 14 พ.ค.
หลังจากที่ตำรวจอินโดนีเซียทราบรายละเอียดถึงสาเหตุการจับตัวชาวอินโดฯ ว่า เป็นแก๊งค์ยาเสพติดข้ามชาติ จึงขยายผล จนพบว่าเกี่ยวพันกับนายเชาวลิต นักโทษที่หลบหนีคดีจากประเทศไทย และมีหมายจับอินเตอร์โพล (หมายแดง) จึงติดตามจับกุมได้ที่เกาะบาหลี ซึ่งนายเชาวลิตเดินทางจากบ้านพักที่เมืองเมดาน ไปท่องเที่ยวยังเกาะบาหลี
หลังจากการจับกุมจึงได้แจ้งให้ทางประเทศไทยให้ทราบ ส่วนจะมีการส่งตัวนายเชาวลิตมาให้ประเทศไทยเมื่อไหร่นั้น ต้องดูว่า อินโดนีเซีย จะดำเนินคดีกับแป้ง ในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองก่อนหรือไม่
เปิดโปงผลประโยชน์เว็บพนันออนไลน์ จาก “มินนี่” สู่เจ๊แหม่มและเสี่ย อ.อ่าง 'หัวเบี้ยมือเก็บส่วย' ที่โด่งดังในวงการตำรวจภาคใต้
โดย.. เมือง ไม้ขม
หลายวันก่อน ตำรวจ PCT จากส่วนกลาง นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สพฐ. ในฐานะหัวหน้าชุดปฏิบัติการตำรวจ PCT นำกำลังจู่โจมเข้า ตรวจค้นห้องพักในคอนโดแห่งหนึ่ง พื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “บ่อนการพนันออนไลน์” ขนาดใหญ่ในหาดใหญ่ ที่ชื่อว่า “วีนัส มาสเตอร์” (Venus Master) มีสมาชิกถึง 40,000 คน เชื่อมโยงกับเว็บไซต์การพนันออนไลน์ขนาดใหญ่ “betfixroya.com” และเครือข่ายที่เป็นของ “มินนี่” เจ้าแม่บ่อนออนไลน์ชื่อก้องประเทศ โดยในการเข้าทลายบ่อนออนไลน์ ที่เปิดอยู่ในคอนโดครั้งนี้ ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 36 คน และหนึ่งในนั้นคือ “แหม่ม” ผู้ควบคุมดูแลวีนัส มาสเตอร์ ที่แหล่งข่าวระบุว่า มีเครือข่ายใน จ.สงขลาและใกล้เคียงถึง 700 กว่าสาขา
แหล่งข่าวยังได้เปิดโปงต่อไปว่า “วีนัส มาสเตอร์” ที่ตำรวจ PCT เข้าจับกุมแห่งนี้ ไม่ได้ส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บการพนันที่เป็นของ “นักการเมือง” ใน จ.สงขลา ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ไม่ใช่ของเสี่ย ก. เสี่ย ถ. และเสี่ย ป. แต่เป็นของ “คนมีสี” ที่เป็น “สีกากี” เป็นตำรวจรุ่น 61 ส่วนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ “นายตำรวจคนดังของภาคใต้” และลูกน้องทั้ง 8 คน ที่เกี่ยวข้องกับเว็บหวยออนไลน์ของมินนี่หรือไม่ อย่างไร ก็ต้องเสาะหากันเอง
ที่สำคัญ “วีนัส มาสเตอร์” มีสาขาหรือเครือข่ายถึง 700 กว่าแห่ง กระจายอยู่ทั่วเหมือนกัแฟรนไชส์สินค้า ที่มีผู้สนใจเปิดบ่อนการพนันออนไลน์นำไปเปิดในตำบล อำเภอต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งทำเงินในการหลอกลวงประชาชนให้เล่นการพนัน
และผู้ที่ถูกระบุว่า เป็น “หัวเบี้ย” หรือ “ผู้ที่เก็บส่วย” ให้หน่วยงานของรัฐ เพื่อมิให้ไปรบกวนแหล่งรับแทงหรือเล่นการพนันออนไลน์ ทั้งหมดคือ “เสี่ย อ.อ่าง” ที่ถูกขนามนามว่าเป็น “หัวเบี้ยอันดับหนึ่ง” ของวงการสีกากีใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นหัวเบี้ย ที่เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของนายตำรวจระดับนายพล จนถึงระดับนายพัน ในระดับกองบังคับการและ “นาย” ใน บชภ.9
มีการระบุว่า การจ่ายส่วยของเครือข่าย “วีนัส มาสเตอร์” ทั้ง 700 กว่าแห่ง ต้องจ่ายค่าคุ้มครองให้เสี่ย อ อ่างแห่งละ 150,000 บาทต่อเดือน เพื่อไม่ให้ตำรวจและฝ่ายปกครองในพื้นที่เข้าไปจับกุมหรือแวะเวียนไป “รบกวน” ให้ยุ่งยาก เพราะบ่อนออนไลน์ ที่ถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่บ่อยๆ ลูกค้าจะไม่นิยม
วันนี้ “แหม่ม” และผู้ต้องหาทั้ง 36 คน ที่ตำรวจ PCT นำไปสอบสวนยังส่วนกลาง จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หรือไม่ ไม่ทราบได้ แต่เท่าที่ทราบ “เสี่ย อ.อ่าง” ผู้เป็นหัวเบี้ยและสาขาของ “วีนัส มาสเตอร์” ยังเปิดให้แทง โดยยังไม่ได้มีการจับกุมจากเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะตำรวจในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีบ่อนออนไลน์ตั้งอยู่ ยังทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน เหมือนกับว่า หน้าที่ในการจับกุมบ่อนการพนันออนไลน์เป็นหน้าที่ของตำรวจ PCT เพียงหน่วยเดียว หาใช่เป็นของตำรวจท้องที่และฝ่ายปกครองไม่
ประเด็นสำคัญคือ บ่อนออนไลน์ที่เปิดได้และเล่นได้ โดยไม่ถูกรบกวนจากตำรวจในพื้นที่นั้น ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดก็ว่าได้ ต้องมีตำรวจระดับสูง ที่เป็นนายพลและนายพันเข้าไปเกี่ยวข้อง บางเครือข่ายเป็นเจ้าของร่วมกับนายทุน บางเครือข่ายเป็นผู้คุ้มครอง ในฐานะที่เป็นหุ้นลม เพื่อเรียกรับผลประโยชน์
ตัวอย่างของตำรวจ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีและหลบหนี เช่น “สารวัตรซัว” ที่ถูกอายัดทรัพย์ 7,000 ล้านบาท “ผกก.ไบร์ท” ที่ถูกดาราชื่อดังออกมาแฉว่า เป็นเจ้าของบ่อนออนไลน์ จนอื้อฉาวในวงการสีกากี และกลุ่มนายตำรวจ 8 นาย ที่เป็นคนใกล้ชิดกับ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ที่อยู่ระหว่างการถูกกล่าวหาจากตำรวจ PCT ในขณะนี้ และการจับกุมบ่อนพนันออนไลน์ “วีนัส มาสเตอร์” ใน อ.หาดใหญ่ครั้งล่าสุด ก็มีนายตำรวจระดับ พ.ต.ท. ที่เป็นนายตำรวจใกล้ชิดกับ พล.ต.อ.สุรเชษฐ หักพาล ถูกกล่าวหา และไปมอบตัว เพื่อขอสู้คดีอยู่ด้วย
ประเด็นที่สังคมสงสัยและต้องการให้ตำรวจ PCT ดำเนินการให้สะเด็ดน้ำคือ กลุ่มผู้เป็นเจ้าของวีนัส มาสเตอร์ ที่มีข่าวว่า เป็นของตำรวจรุ่น 61 นั้นเป็นใคร และตำรวจ PCT ต้องสาวให้ถึง เพื่อเอามาเป็นผู้ต้องหา เพราะผู้ต้องหาทั้ง 36 คนที่จับได้ เป็นเพียงปลายแถว ที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานรับแทงในบ่อนเท่านั้น อีกทั้ง “แหม่ม” สาวใหญ่ ที่เป็นผู้ดูแลและถูกกวาดต้อน แม้จะเป็นคนสำคัญในวีนัส มาสเตอร์ แต่ก็ไม่ใช่ตัวการใหญ่
รวมทั้ง คนสำคัญอย่าง “เสี่ย อ.อ่าง” ผู้ที่รู้เรื่องการจ่ายส่วย ที่เก็บจาก “วีนัส มาสเตอร์” และเครือข่าย 700 กว่าแห่ง เดือนละกว่า 10 ล้านบาท ก็ยังไม่ถูกจับกุม ซึ่งหาก “เสี่ย อ.อ่าง” กลายเป็นผู้ต้องหาด้วย อย่างน้อย ถ้าตำรวจ PCT ทำให้คายความจริงออกมาได้ ก็จะได้รู้ว่า ตำรวจระดับ “นายพล” จนถึง ”นายพัน” ที่เป็นผู้บังคับหน่วยในพื้นที่มีการรับส่วยจากวีนัส มาสเตอร์ และเครือข่าย เดือนละเท่าไหร่
สุดท้าย “หาดใหญ่” และอำเภออื่นๆ ของจังหวัดสงขลา คือแหล่งการพนันออนไลน์ ที่เป็นแหล่งอบายมุขที่ใหญ่โต ไม่แพ้ จ.นครศรีธรรมราช สุราษฎรธานี ภูเก็ต และอื่นๆ เป็นที่หลอกลวงให้ผู้คนหลงใหลในอบายมุขจนหมดเนื้อหมดตัว หมออนาคต ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก และเยาวชน เพื่อทำเงินให้กลุ่มตำรวจ ที่อยู่เบื้องหลัง
และนี่สำคัญ หาดใหญ่ สงขลา ไม่ได้มีแค่ “วีนัส มาสเตอร์” ที่เพิ่งถูกทลายห้าง แต่ยังมีบ่อนการพนันออนไลน์อีกมากมาย ที่เป็นดอกเห็ด ทั้งของ เสี่ย ถ. เสี่ย ก. เสี่ย ป. และอีกหลายๆ เสี่ย ซึ่งหลายคนเดินอยู่ในสภาฯ ในฐานะของผู้ทรงเกียรติรวมอยู่ด้วย
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มหึมาของสังคมไทย ที่หน่วยงานในพื้นที่ต้องช่วยกันปัดกวาด เพราะนี้คือขยะสังคม คือปัญหาสังคมของจังหวัดสงขลา เป็นเรื่องที่ “สมนึก พรหมเขียว” ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญให้มากกว่าเรื่องจัดระเบียบจราจร ที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ เพราะนั่นเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย ที่นายอำเภอกับเทศบาลก็จัดการได้ ทำเรื่อง “บ่อนออนไลน์” ให้สำเร็จ รับรองว่า ชาวสงขลาจะปรบมือให้ท่านสนั่นเมืองแน่นอน
โฆษกพรรคประชาชาติ ชี้แจงเหตุมีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
สส.กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ โฆษกพรรคประชาชาติ ชี้แจงเหตุมีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวานนี้
โดยมีการชี้แจงดังนี้
เรียนพี่น้องสื่อมวลชนทุกท่าน ผม นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ในนามโฆษกพรรคประชาชาติ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 ท่าน ของพรรคประชาชาติ เรามาแถลงข่าววันนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากเมื่อวานนี้ วันที่ 5 กันยายน 2566 มีท่านณฐพร โตประยูร ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ดำเนินการยุบพรรคประชาชาติ โดยอาศัยอ้างเหตุพฤติการณ์ว่าพรรคประชาชาติมีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองโดยเอาเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 จากกรณีที่ขบวนการนักศึกษาปัตตานีทำเวทีประชามติที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์ ปัตตานี มอ.ปัตตานี ว่า ให้มีการทำประชามติแบ่งแยกดินแดน แล้วก็อ้างว่าพรรคประชาชาติ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเป็นที่มาว่าการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กระทำไม่ได้ แล้วอ้างเหตุทำนองลักษณะว่าพรรคประชาชาติ เรามีส่วนเกี่ยวข้องการจัดทำประชามติในครั้งนั้น
ประเด็นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2566 ภายหลังที่มีเวทีการทำประชามติตั้งแต่นั้น ก็ปรากฏข่าวตามสื่อมวลชนมาโดยตลอด และทางพรรคก็ได้ชี้แจงมาโดยตลอดเช่นกัน ในส่วนข้อเท็จจริงที่พยายามโยงให้พรรคประชาชาติต้องการที่จะยุบพรรคประชาชาติ ในขณะนั้น เราเข้าใจว่าวันนี้เรื่องเหล่านี้น่าจะเป็นที่เข้าใจว่าประชาชาติเราไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม แล้วก็ชี้แจงอย่างนี้มาโดยตลอด แต่อยู่ดีๆเมื่อวานมีคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เท่าที่ติดตามข่าว คุณณฐพร เขาไปยื่นต่ออัยการก่อน ตามมาตรา 49 ตามรัฐธรรมนูญปี 60 พออัยการไม่รับพิจารณาภายใน 15 วัน จึงได้ไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ยุบพรรค
กรณีนี้หลังเกิดเหตุ เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการชี้แจงต่อฝ่ายสืบสวนสอบสวนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงเนื่องจากว่าการจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ของขบวนการนักศึกษา พรรคประชาชาติขอย้ำว่า เราไม่ได้เป็นผู้ร่วมจัดกิจกรรม พูดง่ายๆก็คือ เราไม่ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพียงแต่ว่าการจัดกิจกรรมนักศึกษา เขาได้มีหนังสือเชิญถึงพรรคประชาชาติให้ไปร่วมเป็นวิทยากรในช่วงบ่าย ทางพรรคก็ได้มีหนังสือให้ทาง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่เขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี คือท่าน ดร.วรวิทย์ บารู ในฐานะที่เป็นอดีตรองอธิการ มอ.ปัตตานี แล้วก็เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต อำเภอเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ มอ.ปัตตานี ไปร่วมเป็นวิทยากรในช่วงบ่าย ส่วนการทำประชามติในวันนั้น เป็นการทำประชามติในช่วงเช้า ช่วงบ่ายหัวข้อที่พูดบนเวทีก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดน
ด้วยพฤติการทั้งหมด เราขอยืนยันว่า เราไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรม หนังสือเชิญหลักฐานต่างๆ เราพร้อมที่จะชี้แจง ก่อนหน้านี้ที่ผมได้เรียนตั้งแต่ต้นว่า เราได้ชี้แจงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งไปทั้งหมดแล้ว พรรคประชาชาติขอยืนยันว่าตลอดระยะเวลาการจัดตั้งพรรคประชาชาติขึ้นมาตลอดระยะเวลาหลายปี เรายืนยันมาโดยตลอดว่าเราดำเนินการ ถึงแม้ว่าเราอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ๆมีความล่อแหลมในมิติของความมั่นคง แต่การดำเนินกิจกรรมต่างๆ การทำงานในฐานะพรรคฝ่ายค้านตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เราดำเนินการกิจกรรมทางการเมืองทำงานการเมืองเพื่อพี่น้องประชาชนภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ 2560 นั้นก็คือ เราส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุข หากคำร้องที่ทางฝ่าย คุณ ณฐพร ได้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญรับไว้หลังจากนี้ เราพร้อมที่จะชี้แจงว่าเราไม่ได้มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองตามที่ถูกกล่าวหา กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ โฆษกพรรคประชาชาติ กล่าว
สส.วรวิทย์ บารู ชี้แจงประเด็น
ผมมีสองสามประเด็นที่จะแจ้งให้พี่น้องสื่อมวลชนได้ทราบ ประเด็นที่หนึ่งก็คือเราได้รับเชิญจากผู้จัดให้ไปเป็นวิทยากรร่วมเสวนากับวิทยากรอีกสองสามท่านเราไปในลักษณะที่เป็นวิทยากรโดยไปในช่วงเวลาที่ใกล้ถึงเวลาของเราเกือบจะสิ้นสุดปลายแล้วน่ะครับ แล้วก็ประเด็นที่สอง หัวข้อที่ไปพูดเป็นหัวข้อ “self determination “ น่ะครับ ก็คือการ… ตนเอง น่ะครับ การ self determination ก็พูดในกรอบนี้แล้วก็ในพรรคของเราเองเนื่องว่าเป็นพรรคซึ่งแม้ว่าเราอยู่ที่นั่นเหมือนที่โฆษกเราได้พูดไป แล้วก็สมาชิกเรามีทั่วประเทศไม่ใช่เฉพาะในกลุ่มนับถือศาสนาอิสลามอย่างเดียว แล้วก็มีทางด้านฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต. อยากทราบข้อมูลรายละเอียด ผมก็เดินทางไปให้ข้อมูล ณ กกต. จังหวัดปัตตานีน่ะครับ และไม่เคยได้รับการเชิญหรือเรียกตัวจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจน่ะครับ เพราะฉะนั้นในเรื่องเหล่านี้ผมเชื่อว่ามันเป็นเรื่องซึ่งเป็นวิชาการที่ผมไปพูด ก่อนหน้าผม เป็นอาจารย์มารค ตามไทยซึ่งพูดในประเด็นเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ self determination น่ะครับ จึงไม่มีเหตุผลใดๆที่จะเป็นเรื่องที่เราไปรับรู้ถึงการกระทำหรือว่าอะไรจะไปพูดที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดนซึ่ง เพราะ self determination เป็นองค์ความรู้หนึ่งที่ผู้เรียนรู้ ผู้ที่เรียนรู้ทำหน้าที่ในเรื่องของผู้ที่ทำหน้าที่ความมั่นคงก็ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้และผู้ที่ใฝ่หาสันติวิธีก็ต้องเรียนรู้ในเรื่องเหล่านี้เช่นกันครับ
**ตอบคำถามผู้สื่อข่าวครับ **
ผู้สื่อข่าวถาม : ดูแล้ว มีความเสี่ยงที่จะถูกยุบพรรคพร้อมจะชี้แจงด้วยข้อกฎหมายใด
โฆษกตอบ : คือตอนนี้ทางพรรคทราบเพียงตามข่าวที่คุณ ณฐพร ได้ยื่นเมื่อวานน่ะครับ ในส่วนโดยสรุปพฤติการณ์ในการที่อ้างเหตุว่าเรามีเจตนาล้มล้างการปกครองโดยสรุปแค่นั้นเอง ส่วนในรายละเอียดน่ะครับ ที่เขาอ้างในคำฟ้องซึ่งผมทราบว่ามี 30 กว่าหน้า มีพฤติการณ์อะไรบ้าง ตรงนั้นเราพร้อมที่จะชี้แจง แล้วก็มั่นใจว่าการดำเนินการของพรรคเรากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน 2566 เราไม่ได้ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ พร้อมที่จะชี้แจงครับ
ผู้สื่อข่าวถาม : ในเหตุการณ์ มีตัวแทนของพรรคการเมืองหลายพรรคด้วยก็จะเป็นบรรทัดฐานเดียวกันกับพรรคอื่นไหมครับว่าเป็นแค่การไปร่วมเสวนา
โฆษกตอบ : เท่าที่ผมทราบว่าวันนั้น ก็มีตัวแทนของพรรคเป็นธรรม แล้วก็ส่วนก้าวไกลก็ได้รับเชิญ แต่ไม่ได้ไป แล้วก็มีตัวเเทนของพรรคประชาชาติเราที่ไปด้วย โดยสรุปที่ไปวันนั้นก็คือมี 2 พรรค ครับ ส่วนการอ้างเหตุของแต่ละพรรคที่จะยุบพรรคด้วยเหตุการณ์ของวันนั้นของฝ่ายคุณ ณฐพร อ้างเหตุพฤติการณ์อะไร ขอดูคำฟ้องที่เขาฟ้อง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับ เขาส่งมาให้พรรคชี้แจง เราพร้อมชี้แจงครับ
ผู้สื่อข่าวถาม : มีความกังวลไหมครับ
โฆษกตอบ : ไม่ได้กังวลครับ เรามั่นใจในการทำงานของพรรคเรามาโดยตลอดระยะเวลา 4-5 ปี เพราะว่า ผมมองว่าประเด็นเหล่านี้เราไม่ทราบว่าโดยเจตนาที่แท้จริงของคนที่ร้องมีเจตนาอย่างไร แต่ว่า ที่จะกล่าวหาใครว่าต้องการล้มล้างการปกครองเนี่ย ผมว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงเจตนาพิเศษอย่างแท้จริงน่ะครับ เรายืนยันมาโดยตลอดครับว่า พรรคเราไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าพรรคคนเดิม วันมูหะมัดนอร์ มะทา ก็อยู่ในวงการการเมืองมานาน 40 กว่าปี ก็อยู่ในระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาโดยตลอด แล้วก็ 4 ปีที่เราทำหน้าที่ฝ่ายค้าน เราก็อยู่เคียงข้างประชาชน ไม่ได้มีส่อเจตนาอื่นเลยนะครับ ว่าเราจะมีการล้มล้างการปกครองขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ครับ
ผู้สื่อข่าวถาม : มองเป็นเรื่องการกลั่นแกล้งทางการเมืองไหมครับ
โฆษกตอบ : ผมไม่สามารถที่คาดเดาได้ว่าเจตนาที่แท้จริงเป็นอย่างไร แต่ว่า ถ้าดูพฤติการณ์ปกติที่เราดำเนินการวันที่ 7 มิถุนายน ในช่วงบ่าย เราถือว่าเราดำเนินการเป็นปกติในฐานะพรรคการเมืองครับ ขอบคุณมากครับ
“เศรษฐา” จ่อมอบ “ทวี” รับภารกิจดับไฟใต้ ปรับทิศทาง ศอ.บต.
หากนับเฉพาะสายงานความมั่นคง ไม่เพียงแค่ “รัฐมนตรีกลาโหม” ที่ถูกตั้งคำถามว่า “ผิดฝาผิดตัว” หรือไม่ แต่ “รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง” จะเป็นใคร ดูจะคาดเดายาก ทั้งๆ ที่รองนายกฯคนนี้จะรับผิดชอบภารกิจแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมาร่วม 2 ทศวรรษด้วย และต้นปีหน้าจะเป็นวาระครบรอบ 20 ปีไฟใต้ แต่สถานการณ์ความรุนแรงก็ยังไม่คลี่คลาย แถมโหมกระหน่ำหนักในบางช่วงเวลาเสียด้วยซ้ำ ดังเช่นเหตุโจมตีชุดลาดตระเวนร่วม “ตำรวจ-อส.” ที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อกลางดึกของวันที่ 28 ส.ค.66 ทำให้กำลังพลพลีชีพถึง 4 นาย บาดเจ็บอีกนับสิบ
มีรายงานว่า นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ให้ความสนใจงานดับไฟใต้ไม่น้อย และได้หารือนอกรอบกับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม และหัวหน้าพรรคประชาชาติ ซึ่งพรรคการเมืองนี้ครองความนิยมสูงสุดในดินแดนปลายด้ามขวาน ได้ สส.มาถึง 7 คนจาก 13 คน เรียกว่าเกินครึ่ง และคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ยังเป็นอันดับ 1 ทุกเขต ทำให้ได้ สส.แบบบัญชีรายชื่อมาเติมอีก 2 คน
แหล่งข่าวในรัฐบาลยืนยันว่า นายกฯ เศรษฐา อาจใช้อำนาจออกคำสั่งมอบหมายงานกำกับดูแลศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ให้กับ พ.ต.อ.ทวี รวมทั้งงานด้านการพัฒนาพื้นที่, งานพูดคุยเพื่อสันติสุขกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มจะเปลี่ยนชื่อเป็น “โต๊ะพูดคุยสันติภาพ” แต่งาน กอ.รมน. หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร นายกฯ เศรษฐา อาจดึงไว้กำกับดูแลเอง
มีรายงานว่า เลขาธิการ ศอ.บต.คนใหม่ จะเป็นคนจากส่วนกลางซึ่งมีประสบการณ์สูง ผ่านงานระดับอธิบดีมาหลายกรม โดยตำแหน่งเลขาธิการ ศอ.บต. อยู่ในระดับ 11 หรือ “ซี 11” เท่ากับปลัดกระทรวง
เล็งปรับภารกิจ ศอ.บต. - ฟื้นสภาที่ปรึกษาฯ
พ.ต.อ.ทวี เปิดเผยเรื่องนี้ ว่า แผนงานในรายละเอียดต่างๆ คงต้องรอสัญญาณจากนายกฯเศรษฐา แต่หากได้รับผิดชอบกำกับดูแล ศอ.บต. ตนจะปรับภารกิจให้เน้นงานด้านพัฒนาเป็นหลัก แต่ต้องไม่ทำเอง ไม่เป็นหน่วย operation แต่จะเน้นควบคุม กำกับ ดูแล และประสานงานแบบบูรณาการ โดยงานที่จะทิ้งไปไม่ได้คือ “ความยุติธรรม” เพราะเป็นจุดเด่นที่สุดของหน่วยงาน ศอ.บต.
นอกจากนี้ จะมีการรื้อฟื้น “สภาที่ปรึกษา ศอ.บต.” ขึ้นมา เพราะพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. เขียนไว้ดีมาก โดยสภาที่ปรึกษาฯ มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำศาสนา ตัวแทนคนพุทธ คนมุสลิม รวมไปถึงภาคประชาชน เอ็นจีโอ และนักสิทธิมนุษยชน แต่ที่ผ่านมา คสช.ไปออกคำสั่งปลดสมาชิกสภาที่ปรึกษาชุดเดิม แล้วไปคัดเลือกใหม่ เปลี่ยนโครงสร้างใหม่ โดยให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เข้ามามีบทบาท ทำให้ไม่เป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง
ศอ.บต.โดนร้องอื้อ ต้นเหตุแนวคิด “ปรับภารกิจ”
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ที่ผ่านมา ศอ.บต.ทำงานด้านการพัฒนา โดยใช้วิธีลงมือทำเอง เปิดประกวดราคา และจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษด้วยตัวเอง ทำให้หลายๆ โครงการมีปัญหาถูกตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใส เพราะพื้นที่ชายแดนใต้ใช้การจัดจ้างวิธีพิเศษ ไม่ต้องประกวดราคา ตามข้อยกเว้นของกรมบัญชีกลาง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคง
การจัดซื้อจัดจ้างหลายๆ โครงการไม่ต้องเปิดประมูล แต่ใช้วิธีจัดจ้างวิธีพิเศษแบบเฉพาะเจาะจง แต่ผลที่ตามมากลับเป็นในด้านลบ เพราะบางโครงการถูกตรวจสอบจากหลายฝ่ายเนื่องจากเข้าข่ายทุจริต ไม่โปร่งใส หรือตัดสินใจทำโครงการโดยไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมเท่าที่ควร
โครงการที่มีปัญหาจนถูกสั่งยุติกลางคันก็เช่น ตู้กรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ราคาตู้ละกว่า 5 แสนบาท แพงกว่ารถยนต์อีโคคาร์ 1 คันเสียอีก, เสาไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ”เสาไฟโซลาร์เซลล์” งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท มีการตั้งคณะกรรมการจากส่วนกลางไปตรวจสอบและพบว่ามีปัญหาจริง กระทั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดข้าราชการระดับสูง หรือแม้แต่โครงการก่อสร้างสนามฟุตซอลในพื้นที่ ก็มีปัญหาอย่างมาก หลายแห่งไม่มีใครเข้าไปเล่นฟุตซอล กลายเป็นสนามเลี้ยงวัว
ยังไม่นับการผลักดันโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ หรือ “เมกะโปรเจก” ที่กลายเป็นความขัดแย้งระดับพื้นที่ เช่น โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” อ.จะนะ จ.สงขลา ที่มีม็อบบุกทำเนียบรัฐบาลหลายครั้งในห้วงหลายปีที่ผ่านมา
ลุยแก้หนี้-ปฏิรูปคุก-ปราบยา-เจรจาดับไฟใต้
พ.ต.อ.ทวี ยังบอกถึงนโยบายที่จะทำในฐานะ รมว.ยุติธรรมป้ายแดง ว่า ต้องทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะระยะหลังๆ มีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่น ขณะเดียวกันก็มีนโยบายแก้ “หนี้ที่ไม่เป็นธรรม” ซึ่งมีคณะกรรมการที่รับผิดชอบเรื่องนี้อยู่ในกระทรวงยุติธรรม และยังมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงอย่าง “กรมบังคับคดี” อยู่ในโครงสร้างของกระทรวงด้วย
สำหรับ “หนี้ที่ไม่เป็นธรรม” ซึ่งกำลังมีปัญหาอย่างมาก ก็เช่น หนี้ กยศ. หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งมีการแก้ไขกฎหมายใหม่ มีผลบังคับใช้แล้ว ให้ลดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ แต่ทาง กยศ.ก็ยังไม่ออกระเบียบมารองรับตามกฎหมายใหม่ ยังคงคิดอัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในอัตราเดิม ทำให้ผู้กู้เดือดร้อน ทั้งๆ ที่ผู้กู้เป็นคนขยัน ใฝ่เรียน สมควรสนับสนุน ไม่ใช่ถูกบังคับให้เป็นหนี้
ในส่วนของกรมราชทัณฑ์ กรมที่ได้รับจัดสรรงบประมาณมากที่สุดของกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.ทวี บอกว่า มีแผนศึกษาเรื่องแยกกลุ่มผู้ต้องขัง ไม่ให้ขังรวมกันจำนวนมาก โดยไม่แยะประเภทของนักโทษ เช่น ผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างพิจารณาคดี คือคดียังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่ใช่ “นักโทษเด็ดขาด” กลุ่มนี้ต้องแยกขัง ไม่ควรขังรวมกับนักโทษเด็ดขาด อาจมีโครงการใช้พื้นที่เอกชนเป็นสถานที่คุมขัง ให้นอนรวมกันแค่ 3-4 คน ไม่ใช่นอนกันเป็นร้อยเหมือนในเรือนจำ และมีอาหารให้รับประทาน โดยให้กรมราชทัณฑ์เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน เพราะตามรัฐธรรมนูญแล้ว คนกลุ่มนี้ยังไม่ถือว่ามีความผิด จึงต้องไม่ปฏิบัติกับเขาเสมือนหนึ่งเป็นผู้กระทำความผิด
อีกเรื่องหนึ่งที่อยู่ในหน้างานของกระทรวงยุติธรรมเช่นกัน ก็คือ งานปราบปรามยาเสพติด เพราะสำนักงาน ป.ป.ส.เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงตาชั่ง พ.ต.อ.ทวี บอกว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องเห็นผลถึงระดับชุมชน หมู่บ้าน ทุกอย่างต้องมีตัวชี้วัดให้ได้ เพราะที่ผ่านมาประชาชนเดือดร้อนมาก และร้องเรียนเข้ามามากว่ายาเสพติดระบาดหนักจริงๆ
นอกจากนั้นยังมีแนวคิด “ยืมตัว” นายตำรวจที่เก่งงานด้านปราบปราม มารับผิดชอบงานที่สำนักงาน ป.ป.ส. เพื่อให้งานปราบยาเสพติดประสบผลสำเร็จมากขึ้นด้วย
ส่วนงานพูดคุยสันติภาพดับไฟใต้ พ.ต.อ.ทวี ซึ่งเคยเป็นแกนนำคณะพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นเมื่อปี 2556 ในรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บอกว่า ต้องรื้อกระบวนการพูดคุยใหม่ โดยตั้งประเด็นขึ้นมาให้ชัดเลย อาจจะมี 4-5 ประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการบริหารการปกครอง แล้วดึงทุกฝ่ายมาร่วมหารือ เพื่อตกผลึกให้ได้ในแต่ละประเด็น เนื่องจากใช้วิธีพูดคุยภาพรวมเหมือนที่ผ่านมา ไม่มีความคืบหน้า และไม่มีประเด็นไหนที่เห็นผลเป็นรูปธรรมนำร่องได้เลย
ผู้คน - สังคม
ประธานวุฒิสภา ร่วมกับ สมาพันธ์ออฟโรดฯ ลงพื้นที่น่านช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยสมาชิกวุฒิสภา ร่วมกับสมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดน่าน รวมมูลค่าประมาณกว่า 400,000 บาท
วันที่ 8 กันยายน 2567 นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา พร้อมด้วย นางสาวเกศกมล เปลี่ยนสมัย นายมังกร ศรีเจริญกูล นางวาสนา ยศสอน สมาชิกวุฒิสภา ร่วมกับสมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย นำสิ่งของช่วยบรรเทาความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดน่าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
โดยได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจ ร่วมกับชมรมผู้ใช้รถยนต์ออฟโรด ภายใต้กิจกรรม “ออฟโรดรวมใจ ช่วยโรงเรียนน้อง ผู้ประสบภัยน้ำท่วม“ ซึ่งได้รวมตัวกันบริจาคเงินและสิ่งของที่จำเป็น อาทิ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องปริ้นเตอร์ อุปกรณ์กีฬา ถุงยังชีพ เป็นต้น เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนที่ประสบภัยในพื้นที่อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง และอำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 10 โรงเรียน รวมมูลค่าประมาณกว่า 400,000 บาท
โดย ประธานวุฒิสภา ได้กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อสังเกตการณ์กรณีน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งได้เห็นการทำงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ในการเตรียมความพร้อมทั้งก่อนเกิดและขณะเกิดสถานการณ์ รวมทั้งการแก้ไขเยียวยาฟื้นฟูสถานการณ์ภายหลังเกิดอุทกภัยได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อไปให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ครู นักเรียน และพี่น้องที่ประสบอุทกภัย โดยการนำความห่วงใยของสมาชิกวุฒิสภาลงไปสู่ประชาชน ซึ่งได้ไปร่วมกับพี่น้องชาวออฟโรดจากจังหวัดต่าง ๆ บริจาคสิ่งของที่จำเป็นด้วยจิตอาสาที่ต้องการทำความดีแทนคุณแผ่นดิน แบ่งปันความสุข บรรเทาทุกข์ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ชมรมข้าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทย ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้สมาชิกผู้ล่วงลับ
วานนี้ (31 ส.ค.) ที่วัดชัยชนะสงคราม ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ชมรมข่าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทยภาคใต้ โดยนายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล ประธานชมรมฯ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีต ผอ.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายบัญญัติ จันท์เสนะ อดีต รมช.มหาดไทย นายภานุ อุทัยรัตนฺ อดีต วุฒิสมาชิก และอดีต เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนแดนภาคใต้ ( ศอ.บต. ) พร้อมสมาชิก ชมรมฯ กว่า 50 คน ได้ทำพิธีทางศาสนา ทำบุญ เลี้ยงพระ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้กับสมาชิกชมรมผู้ล่วงลับ จำนวน 14 รายด้วยกัน ซึ่งนอกจากการทำบุญเลี้ยงพระเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับดวงจิตวิญญาณผู้ล่วงลับแล้ว ยังได้มอบเงินส่วนหนึ่ง เพื่อทะนุบำรุงบวรพุทธศาสนาให้กับ วัดชัยชนะสงครามด้วย โดยนายวิสุทธ์ สิงห์ขจรวรกุล ประธานชมฯ กล่าวว่ากิจกรรมวันนี้เป็นส่วนหนึ่ง เพื่อทำเพื่อส่วนรวม ซึ่งที่ผ่านมา ชมรมฯ ได้จำกิจกรรมในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เช่นการ เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียนปัญญาก่อน และให้มอบทุนให้ทางโรงเรียน เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เป็นต้น
ทัศนะ - สนทนา
แนะ 2 เรื่องให้ “รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง” ทำเพื่อยุติการค้าสงครามชายแดนใต้
ทัศนะ : ไชยยงค์ มณีพิลึก
“กองอาสารักษาดินแดน” ที่เรียกกันว่า “อส.” ถือเป็น “กองกำลังท้องถิ่น” เพราะคนในพื้นที่สมัครเข้ามา เป็นกำลังฝ่ายปกครองของอำเภอและจังหวัด ต่อมาถูกจัดตั้งเป็น “ชุดคุ้มครองตำบล” หรือ “ชคต.” ทำหน้าที่รักษาความสงบระดับตำบล ฝ่ายปกครองเป็นผู้ควบคุม แต่ด้านยุทธการขึ้นกับ “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า”
หลายเดือนมานี้ “ชคต.” กลายเป็น “เป้าหมายหลัก” ของกองกำลังติดอาวุธขบวนการแบ่งแยกดินแดน “บีอาร์เอ็น” ทั้งถูกโจมตีฐานปฏิบัติการ ถูกลอบยิง ลอบขว้างระเบิดใส่ขณะที่ลาดตระเวนรักษาความสงบให้ประชาชนในพื้นที่
มีเหตุต่อเนื่องในระหว่างเดือนสิงหาคม–กันยายน 2567 คือ “แนวร่วม” บีอาร์เอ็นได้หว่านโปรยจดหมายไปยังศาสนสถานและสถานที่สำคัญใน 3 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กับ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ขู่ให้กองกำลังท้องถิ่นลาออก
แถมยังส่งจดหมายแบบเดียวกันเจาะจงไปยัง ชคต.หลายคน ข่มขู่ว่า หากไม่ลาออกอาจทำให้ “ลูกๆ เป็นกำพร้า” และ “ภรรยาเป็นหม้าย” ล่าสุดมีการพ่นสีบนถนนหนทางในหลายพื้นที่ด้วยตัวอักษร “อส.ลาออก” เพื่อสร้างความหวาดกลัวและกดดันครอบครัวเครือญาติ รวมถึงคนในพื้นที่ให้วิตกกังวลไปตามๆ กัน
นับได้ผลในระดับหนึ่ง เพราะจากที่ผ่านๆ มาหลังมีการข่มขู่ มักจะมีการปฏิบัติการจริงตามมาด้วย ซึ่งในครั้งนี้ บีอาร์เอ็นอาจจะเอาจริงถึงขั้นขยายเป้าหมายจากตัว อส.สู่ลูกเมียหรือคนในครอบครัวหรือไม่ แม้วันนี้จะยังไม่มีข่าวเช่นนั้นก็ตาม แต่ก็ต้องจับตาชนิดอย่ากระพริบกันต่อไป
ในอดีตบีอาร์เอ็นมองว่ากองกำลังติดอาวุธที่มาจาก “ชาวบ้าน” ยังขาด “จิตวิญญาณนักสู้” จึงไม่ใช่ขวากหนามสำคัญต่อปฏิบัติการแบ่งแยกดินแดนที่เน้นการใช้ “ความรุนแรง” หรือแม้แต่คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เองในยุคนั้นก็ยังตั้งฉายาให้เป็นได้แค่ “ผักเหนาะคอมฯ” เท่านั้น
แต่ความที่หน่วยงานความมั่นคงมีนโยบายลด “ทหารหลัก” แล้วหันมาใช้ “อาสาสมัครทหารพราน (อส.ทพ.)” ซึ่งตั้งเป้าให้มีผลชัดเจนในปี 2570 จึงมีการเพิ่มศักยภาพของ อส.ทั้งด้านยุทธการ ยุทธวิธี และการข่าว มีการจัดตั้ง “กองกำลัง อส.ทันสมัย” ให้มีประสิทธิภาพและระเบียบวินัยเช่นเดียวกับทหารและตำรวจ
รวมทั้งเน้นรับคนที่จบปริญญาตรีเข้ามาเป็น อส.มากขึ้น ซึ่งให้ค่าตอบแทน 15,000 บาท/เดือน นี่ยังไม่รวมเบี้ยเลี้ยงและค่าตอบแทนอื่นๆ เวลานี้กองกำลังท้องถิ่นที่มาจากประชาชนจึงมีประสิทธิภาพไม่แพ้หรือเทียบเท่าทหารและตำรวจที่เป็นข้าราชการประจำได้แล้ว
ส่งผลให้ทุกวันนี้ บีอาร์เอ็นจึงมีความหวั่นไหวต่อนโยบายของฝ่ายความมั่นคงในชายแดนใต้ไม่น้อย เพราะกองกำลังท้องถิ่นมีจิตวิญญาณที่พร้อมปกป้องมาตูภูมิ และที่สำคัญรายได้จากการทำหน้าที่ อส.ถือว่าเพียงพอต่อการยังชีพ แถมยังมีหนทางสู่ความก้าวหน้าได้ในอนาคตอีกด้วย
จึงไม่แปลกที่ในเวลานี้ บีอาร์เอ็นจะหันเป้าไปทำลายล้าง อส.ต่อเนื่อง ในลักษณะที่กล่าวมาแล้ว โดยใช้แนวร่วมที่แฝงฝังอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะ “กลุ่มเยาวชนช่วยรบ” ให้เป็นผู้ดำเนินการหลัก
จึงไม่แปลกที่นโยบายความมั่นคงอะไรที่ทำให้เห็นว่าเป็นอุปสรรคขวากหนามสำคัญ บีอาร์เอ็นก็จะพยายามทำให้ “อ่อนแอ” ไปเรื่อยๆ แล้วหรือหาก “ทำลาย” ได้ก็จะเร่งทำทันที
ความจริงแล้วในวันนี้บีอาร์เอ็นกำลังหวั่นไหวใน 2 เรื่องที่สำคัญมาก ประกอบด้วย เรื่องแรกคือ นโยบายความมั่นคงในชายแดนใต้ ที่หันมาใช้กำลังกองกำลัง อส.แทนที่กองกำลังทหารหลักที่ตั้งเป้าหมายจะให้เกิดผลเป็นจริงในปี 2570 หรืออีกเพียง 3 ปีข้างหน้าเท่านั้น
จุดแข็งของกองกำลังท้องถิ่น อส.ทันสมัยคือ ความเป็น “คนมาลายู” ที่นับถือ “ศาสนาอิสลาม” เช่นเดียวกันกับคนของฝ่ายบีอาร์เอ็นที่แฝงฝังอยู่ในพื้นที่ หรือบางครั้งอาจจะเป็นญาติสนิทมิตรสหายเลยด้วย ส่งผลให้ถ้าเกิดการโจมตี อส.เมื่อไหร่ นั่นมีแต่จะทำให้บีอาร์เอ็น “เสียมวลชน” หรือกระทั่ง “เสียแนวร่วม” ไปไม่มากก็น้อย
แตกต่างจากการโจมตีกองกำลังทหารและตำรวจที่แทบไม่ทำให้บีอาร์เอ็นเสียมวลชนอะไรเลย เพราะคนในพื้นที่จำนวนหนึ่งถูกบ่มเพาะให้มีอคติมาเป็นเวลานาน สังเกตจาก “กองกิจการพลเรือน” ของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แม้จะนำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เข้าไปให้คนในพื้นที่มากเท่าใด ชาวบ้านก็ยังไม่เลิกอคติ
ดังนี้แล้วบีอาร์เอ็นยังต้องการให้ทั้ง “ทหารเขียว” และ “ทหารพราน” คงกองกำลังอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ยังคงเป็น “เงื่อนไข” สำคัญต่อปฏิบัติการมวลชนของฝ่ายบีอาร์เอ็นเองยังทำงานได้สะดวกแบบเดิมๆ นั่นเอง
อีกเรื่องคือ มาตรการให้ผู้นำศาสนาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน ซึ่งเป็นการทำลายเงื่อนไขที่ฝ่ายบีอาร์เอ็นบิดเบือนหลักการศาสนาไปใช้ผูกปมเงื่อนแบบผิดๆ เอาไว้ในจิตใจมวลชน สังเกตได้จากการพยายามข่มขู่ คุกคาม รวมถึงต้องการเข้าควบคุมบรรดาผู้นำศาสนาที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของบีอาร์เอ็น
ที่ผ่านมา ฝ่ายบีอาร์เอ็นใช้วิธีบ่มเพาะให้มวลชนเชื่อว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ “แผ่นดินดารุนฮารบี” หรือแผ่นดินที่มี “ความขัดแย้งทางศาสนา” อย่างมีนัยสำคัญ บีอาร์เอ็นจึงพยายามคุกคามต่างๆ นานา ต่อผู้นำศาสนาที่ไม่เห็นด้วยให้ “นิ่งเฉย” อย่าแสดงความขัดแย้ง หรือถ้ายอมให้ควบคุมก็จะทำทันที
ดังนั้น “รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง 1” ที่มี น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะ “สหายใหญ่” นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงและ รมว.กลาโหม กับ “บิ๊กเล็ก” พล.อ.ณัฐพล นาคพานิชย์ รมช.กลาโหม รวมถึงหน่วยหลักกองทัพในพื้นที่ “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” ต้องเร่งขับเคลื่อนใน 2 เรื่องนี้ให้บังเกิดผล
ประการแรก ต้องยิ่งเร่งมือสร้างความเข็มแข็งให้แก่ “กองกำลัง อส.” เพื่อใช้เป็นกองกำลังทดแทนในการรักษาความสงบในชายแดนใต้ โดยเฉพาะต้องไม่ให้รู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงแล้วลาออกตามความต้องการของฝ่ายบีอาร์เอ็น
ประการที่สอง ต้องเร่งแก้ปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ “ผู้นำศาสนา” ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของฝ่ายบีอาร์เอ็น ขณะที่ใครซึ่งเป็นแนวร่วมให้แก่บีอาร์เอ็นก็ต้องทำให้กลับใจเลิกเดินหน้าบ่มเพาะแบบผิดๆ ว่า ชายแดนใต้ไม่ใช่ “แผ่นดินดารุนฮารบี” ดังที่กล่าวอ้าง
ถ้าทำ 2 เรื่องนี้ให้เกิด “เป็นมรรคผล” ได้ เชื่อมั่นว่ามาตรการดับไฟใต้จะก้าวสู่ความสำเร็จได้เสียที ทั้งนี้หน่วยงานความมั่นคงต้องเลิกการแก้ปัญหาแบบ “ขี่ม้าเลียบค่าย” ที่เอาแต่แสดงแสนยานุภาพ แต่ไม่กล้าที่จะโจมตีเพื่อทำลายจุดแข็งของศัตรู
เลิกเสียทีเถอะกับการ “ค้าสงคราม” ที่หวังเพียงงบประมาณ แต่ไม่มุ่งหวังที่จะได้รับชัยชนะเหนือศัตรู
“อุ๊งอิ๊ง” กับภารกิจลบข้อหาพ่อจุดไฟใต้ระลอกใหม่
ทัศนะ : ไชยยงค์ มณีพิลึก
เป็นอีกสัปดาห์ที่ “บีอาร์เอ็น” ไม่ได้สร้างความสูญเสียให้เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงลดลงแล้ว หรือกระทั่ง “ยุทธการคลองช้าง” ที่ ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ที่มีการวิสามัญฯ กองกำลังติดอาวุธไป 3 ศพจะทำให้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนย่นระย่อต่อการเอาคืน
เพียงแต่ที่ไม่มีเสียงระเบิดและปืนจากการซุ่มโจมตีอาจจะมาจาก “มาตรการป้องกัน” ของทหารมีความข้นข้นมากขึ้น และ “เป้าหมาย” ไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้ปฏิบัติการของฝ่ายบีอาร์เอ็นจึงเกิดขึ้นไม่ได้
ในขณะเดียวที่ “งานการทหาร” ของบีอาร์เอ็นในพื้นที่ลดความถี่ลง แต่งานสร้างมวลชนที่ขับเคลื่อนผ่าน “ปีกการเมือง” กลับเข้มข้นและถี่ขึ้น โดยมีการนำเอา “เงื่อนไข” ในพื้นที่ไปทำการขับเคลื่อนเพื่อให้เข้ากับบริบทของสถานการณ์
เช่นการจัดกิจกรรม “คืนความยุติธรรมให้ตากใบ” ช่วงรอการตัดสินของศาลจังหวัดนราธิวาส หลังจากไต่สวนคำฟ้องฝ่ายโจทก์ที่เป็นตัวแทนของครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547
เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 83 ศพระหว่างถูกควบคุมตัวจาก สภ.ตากใบ เดินทางไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี กิจกรรมดังกล่าวจัดโดย “ภาคประชาสังคม” เพื่อกระตุ้นเตือน “คนมาลายู” ไม่ให้ลืมเลือน และเป็นการ “กดดัน” กระบวนการยุติธรรมที่กำลังจะพิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับเป็นคดีไปพร้อมๆ กัน
รวมทั้งมีการขับเคลื่อนของ “9 นักกิจกรรม” จากภาคประชาสังคมที่ถูก “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” ดำเนินคดีมาก่อนแล้วจากการจัดงาน “วันมลายูเดย์” ที่หาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อปี 2566 ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานอัยการจังหวัดว่าจะส่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง
อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวจากภาคประชาสังคมยื่นเรื่องให้ “องค์การสหประชาชาติ” หวังกดดัน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยุติการดำเนินคดี หรือชี้นำให้อัยการสั่งไม่ฟ้อง ถือเป็นการดึง “มหาอำนาจ” เข้ามา “แทรกแซง” เพื่อที่ให้ผู้ต้องหามลายูไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย จนดูเหมือนไม่ค่อยเป็นธรรมกับคนไทยพุทธสักเท่าไหร่
รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นใน “โรงเรียนตาดีกา” ไปจนถึง “สถาบันอุดมศึกษา” และในชุมชนที่เครือข่ายบีอาร์เอ็นมีความเข้มแข็ง โดยมักสื่อไปทาง “แข็งข้อ” แบบไม่สนใจกติกาและคำขอร้องจาก “หน่วยงานความมั่นคง” ที่พยายามทำความเข้าใจเพื่อมิให้เกิดความหมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมาย
ด้าน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าเองก็แทบไม่สามารถแก้ปัญหาการต่อต้านอำนาจรัฐที่เกิดขึ้น อาจเพราะไม่กล้า “ใช้ยาแรง” กับผู้บริหารองค์กรเอกชนเหล่านั้น ด้วยไม่มีความพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะตามมา จึงกลายเป็นเรื่อง “ได้ใจ” ซึ่งนี่คือความแตกต่างระหว่างคนชายแดนใต้กับคนในภูมิภาคอื่นๆ
เช่นเดียวกับปัญหาที่ “ล่อแหลม” ต่อความมั่นคงที่ดำเนินมาเนินนานคือ “พิธีแห่ศพ” แนวร่วมหรือกองกำลังติดอาวุธบีอาร์เอ็นที่ถูกวิสามัญฆาตกรรมเพื่อยกย่องให้เป็น “ชาอีด” หรือ “ผู้พลีชีพ” ในฐานะนักรบพระเจ้าหรือผู้ปกป้องมาตุภูมิ ซึ่งบีอาร์เอ็น “บิดเบือนหลักการศาสนา” ไปใช้สร้างมวลชนและสร้างสถานการณ์
เชื่อหรือไม่ว่าคนที่ถูกวิสามัญฯ ทุกรายมี “หมายจับ” ติดตัว อาทิ คดีฆ่าคน วางเพลิง วางระเบิด ก่อวินาศกรรม หรือไม่ก็เป็นผู้ต้องหาด้านความมั่นคง คดีอั้งยี่ ซ่องโจร อีกทั้งทำผิด ป.วิอาญาหรือไม่ก็ พรก.ฉุกเฉินฯ และมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้ที่รวมขบวนการแบ่งแยกดินแดน
ที่สำคัญก่อนถูกวิสามัญฯ เจ้าหน้าที่ได้เปิดโอกาสให้ “มอบตัว” แล้วทุกครั้ง แต่แนวร่วมหรือกองกลังติดอาวุธบีอาร์เอ็นมักเลือกที่จะ “สู้ตาย” เพื่อจะได้ใช้ศพเป็นเครื่องมือ “สร้างเงื่อนไข” ต่อ อันเป็นไปตามความมุ่งหวังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตาม “ธง” ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน
ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าต้องไม่นิ่งนอนใจอีกต่อไป เพราะปัญหาอื่นๆ ล้วนเบาบางกว่าแทบทั้งสิ้น ตัวอย่างเรื่องความไม่เป็นธรรมก็เป็นเรื่องความรู้สึก ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เรื่องการอุ้มฆ่า อุ้มหาย หรือซ้อมทรมานก็ไม่ได้เกิดขึ้นนานแล้ว แถมยังมีกฎหมายคุ้มเข้มการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ออกมาบังคับใช้แล้วด้วย
สิ่งที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าต้องเร่งทำจึงคือ การให้ “ผู้นำศาสนา” ทุกระดับตั้งแต่จุฬาราชมนตรี ประธานกรรมการอิสลามจังหวัด อิหม่ามทุกมัสยิด หรือ “ผู้นำจิตวิญญาณ” อย่างบาบอ เจ้าของโรงเรียนและปอเนาะ กระทั่งโต๊ะครู ให้ออกมาทำความเข้าใจกับมุสลิมในพื้นที่
โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญคือ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยไม่ได้เป็น “แผ่นดินดารุนฮารบี” ตามที่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนบ่มเพาะหรือปลุกระดมให้เชื่อ แต่เป็น “แผ่นดินดารุสลาม” หรือเป็นแผ่นดินแห่งความสงบสันติที่ไม่มีความขัดแย้งทางศาสนา
นี่คือหนทางแก้ปัญหา “พิธีแห่ศพ” ที่ถูกบีอาร์เอ็นบิดเบือนหลักการศาสนาไปใช้สร้าง “เงื่อนไข” แบ่งแยกดินแดน โดยที่ผ่านมาผู้นำศาสนาและผู้นำจิตวิญญาณต่าง “ไม่ใส่ใจ” หรือไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐเท่าที่ควร อันทำให้มาตรการดับไฟใต้ของทุกรัฐบาลที่ผ่านๆ แทบไม่เกิดผลอะไรมากมาย
ดีกว่าการที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าจะใช้วิธีไปไล่แจ้งความเอาผิดกับ “เจ้าของบ้าน” ที่ให้ที่พักพิงกับผู้ถูกวิสามัญฯ ซึ่งเวลานี้บีอาร์เอ็นก็แก้เกมด้วยการอ้างทุกครั้งที่มีการปิดล้อมจับกุมว่าเป็น “บ้านเช่า” เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เจ้าของบ้านได้รับโทษ
ที่สำคัญ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมการแห่ศพผู้ถูกวิสามัญฯ ในระยะหลังมีการนำเด็กๆ จากปอเนาะ หรือไม่ก็นำเยาวชนในและนอกหมู่บ้านเข้ามาร่วมพิธีเพื่อให้เสียงตะโกนคำว่า “อัลเลาะห์ อักบัร” และ “ปาตานี เมอร์เดก้า” ดังมากยิ่งขึ้น ซึ่งนี่คือการบ่มเพาะ “นักรบหน้าขาว” เข้าสู่ขบวนการนั่นเอง
สุดท้ายทราบมาว่า ใน “กระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ที่เป็นอีกหนึ่งช่องทาง “สร้างภาพลักษณ์” ว่ายังต้องการใช้การเจรจาหรือพูดคุยกับคู่ขัดแย้งอย่างบีอาร์เอ็น จะมีการ “เปลี่ยนตัว” หัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายรัฐไทยจาก “ฉัตรชัย บางชวด” รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไปเป็นบุคคลอื่นอีกคราครั้งแล้ว
ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ “รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง” ซึ่ง “แพทองธาร ชินวัตร” เพิ่งได้รับเลือกเป็นนายรัฐมนตรีคนที่ 31 หมาดๆ ต้องพิจารณาให้รอบคอบ การเลือกสรรคนใหม่มาทำหน้าที่นี้ไม่ใช่เรื่องเร่งร้อน และควรเกิดหลังจากได้ “เลขาธิการ สมช.คนใหม่” แทน พล.ต.อ. รอย อิงคไพโรจน์ ที่ใกล้จะเกษียณ
ความจริงแล้ว “ปัญหาความมั่นคง” เป็นเรื่องที่ “นายกฯ อุ๊งอิ๊ง” จำต้องให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าด้านอื่นๆ เพราะต้องไม่ลืมว่ามีดีเอ็นเอของ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้มีส่วน “จุดไฟใต้ระลอกใหม่” ให้เกิดขึ้น
จึงเป็นความท้าทายสำหรับคนในสายเลือด “ชินวัตร” ผู้ที่มารับหน้าที่สานต่อ “ระบอบทักษิณ” จะต้องแสดงฝีมือ “ดับไฟใต้ระลอกใหม่” ที่ผู้เป็นพ่อถูกกล่าวหาว่าจุดขึ้น ให้สมกับคำว่า “นารีขี่ม้าขาว” เพื่อนำพาประเทศไปสู่ความศิวิไลซ์
ชิลล์ฯ เที่ยว - ชิม - ชอป
ชวนชิมเมนูเด็ด “เต้าฮวยเย็นทรงเครื่อง” รับประกันความอร่อยลูกค้าติดตรึม
ชวนลองร้านน้ำเต้าหู้ถั่วเหลือง 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ต้องใช้บัตรคิวตามลำดับมาก่อนหลัง เมนูเด็ด “เต้าฮวยเย็นทรงเครื่อง” เจ้าของร้านรับประกันความอร่อยและลูกค้ายังคงเหนียวแน่นไม่มีลด มีแต่เพิ่มขึ้นทุกวัน
สีสัน น้ำเต้าหู้ถั่วเหลือง 100 เปอร์เซ็นต์ ของคุณนพรัตน์ – คุณวรกร บุญช่วย สองสามีภรรยา ที่เปิดขายน้ำเต้าหู้ ริมถนนหน้าบ้าน เลขที่ 43 ถนนพัทลุง เขตเทศบาลนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งเป็นร้านขายน้ำเต้าหู้ชื่อดัง ที่มีลูกค้ามาอุดหนุนทุกวันเป็นจำนวนมาก จนต้องนำเครื่องกดบัตรคิวมาให้ลูกค้าแต่ละคนกดคิวตัวเอง เพื่อจัดลำดับก่อนหลังตามคิวบัตร โดยเมื่อลูกค้าเข้ามาถึงจะต้องไปกดบัตรคิวก่อน และเมื่อถึงคิวตนเองจึงจะสั่งซื้อได้ โดยเปิดขายระหว่างเวลา 16.30 - 20.30 น. ทุกวัน โดยจะมีลูกค้าหนาแน่นในช่วงตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป โดยได้เปิดขายน้ำเต้าหู้เข้าปีที่ 6 แล้ว
ทางร้านมีเมนูประกอบด้วย บัวลอยน้ำขิง 30 บาท บัวลอยน้ำเต้าหู้ ราคา 30 บาท เต้าทึงเย็น 25 บาท เต้าฮวยเย็นทรงเครื่อง 35-40 บาท และเต้าฮวยสูตรต้นตำรับ 30 บาท และมีเมนูเด็ดที่คิดค้นขึ้นมา ก็คือ เมนูเต้าฮวยเย็น ที่คิดขึ้นมาเองได้รับการตอบรับดีมากและก็ขายดีด้วย เป็นเมนูที่ขายดีประจำร้าน โดยมีเต้าฮวย มีแปะก๊วย ปาท่องโก๋กรอบ โรยน้ำแข็ง แล้วก็ทานรวมพร้อมกัน ซึ่งเป็นรสชาติที่บอกว่ากินแล้วชื่นใจ เป็นเมนูที่ขายดีที่สุดของร้าน สำหรับราคาเต้าฮวยเย็น ถ้าเป็นสูตรธรรมดา ต้นตำรับที่เราคิด ขายถ้วยละ 30 บาท แต่ถ้าคนที่ชอบทานเครื่องเพิ่ม อาจจะใช้ลูกเดือย บาร์เลย์ หรือว่าถั่วเหลืองซีกเพิ่มขึ้นมาก็เป็น 40 บาท
สำหรับแรงบันดาลใจที่ได้มาทำตรงนี้ คุณนพรัตน์ บอกว่า เนื่องจากมองว่าในย่านนี้ยังไม่มีน้ำเต้าหู้ขาย ช่วงนั้นว่างงานอยู่พอดีก็คิดว่าทำอะไรที่ขายหน้าบ้านได้ ก็นั่งคิดนอนคิดอยู่หลายวันก็เลยมาลองขายน้ำเต้าหู้ คิดว่าจะขายสนุกๆ สบายๆ แต่กลับได้การตอบรับค่อนข้างผิดคาด จึงคิดว่าตัวนี้ไปได้จึงขายตลอดมาปีนี้เข้าปีที่ 6 แล้ว ที่ขายอยู่มีน้ำเต้าหู้ ร้อนเต้าหู้เย็น เต้าฮวยร้อนเต้าฮวยเย็น และเมนูที่ไม่เหมือนที่อื่นก็คือเต้าฮวยเย็นทรงเครื่อง ซึ่งอันนี้เราคิดขึ้นมาเองไม่เหมือนที่อื่น
เบตงพร้อมแล้ว! งานวิ่งเทรลระดับโลกครั้งที่ 2 Amazean Jungle Thailand 2024
ประธาน กพต.แถลงความพร้อมจัดงานวิ่งเทรลสนามระดับโลก ครั้งที่ 2 Amazean Jungle Thailand 2024 @เบตง ที่ อ.เบตง จ.ยะลา 3-5 พ.ค.นี้ คาดกระตุ้นเศรษฐกิจได้กว่า 300 ล้านบาท
วานนี้ (24 เม.ย.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ (กพต.) ร่วมกับนายกิตติ เชาว์ดีเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ Mrs.Sabrina De Nadai UTMB Asia Director แถลงข่าวการจัดการแข่งขันวิ่งเทรล Amazean Jungle Thailand by UTMB 2024
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การจัดการแข่งขันวิ่งเทรล Amazean Jungle Thailand by UTMB 2024 ถือว่าเป็นการจัดงานวิ่งระดับโลก เพราะได้รับการรับรองมาตรฐานจาก UTMB : Ultra Trail du Mont Blanc ที่เป็นผู้จัดงานวิ่งเทรลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยการจัดงานครั้งนี้ หน่วยงานหลักที่เป็นผู้รับผิดชอบ คือ ศอ.บต.ร่วมกับการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซึ่งการจัดงานครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกจัดเมื่อปี 2566 นับว่าประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี โดยในครั้งนั้น มีนักวิ่งเทรลเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2,539 คน จาก 48 ประเทศทั่วโลก กระตุ้นเศรษฐกิจได้มากถึง 243 ล้านบาท
สำหรับการจัดการแข่งขันวิ่งเทรล ในปี 2567 จะจัดขึ้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา โดยเปิดรับสมัครไปแล้วตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2566 – 29 กุมภาพันธ์ 2567 และจัดการแข่งขันในวันที่ 3–5 พฤษภาคม 2567 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการแข่งทั้งหมด 3,480 คน จาก 48 ประเทศทั่วโลก แบ่งเป็น คนต่างชาติ 28% เช่น มาเลเซีย 15% จีน 4% ญี่ปุ่น 1% และ คนไทย 72% โดยคาดว่า จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้กว่า 300 ล้านบาท ซึ่งการจัดงานวิ่งครั้งนี้ จุดปล่อยตัวคือ อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ อยู่กลางเมืองเบตง จะวิ่งผ่านสถานที่สำคัญ เช่น เทือกเขาสันกาลาคีรี จุดชมวิวทะเลหมอกจาเราะกางา จุดชมวิวทะเลหมอกฆูนุงซีลีปัต และอุโมงค์ปิยะมิตร เป็นต้น
นายสมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า งานแข่งขันวิ่งเทรลมี 6 ระยะแข่งขัน ได้แก่ 3.5 กม., 16 กม., 26 กม., 54 กม., 103 กม. และ 145 กม. โดยมีรางวัลการแข่งขัน ดังนี้ ระยะ 145 กม.,03 กม. และ 54 กม. อันดับที่ 1 ชายและหญิง เงินรางวัล 600 ยูโร (ประมาณ 23,000 บาท) อันดับที่ 2 ชายและหญิง เงินรางวัล 450 ยูโร (ประมาณ 18,000 บาท) อันดับที่ 3 ชายและหญิง เงินรางวัล 300 ยูโร (ประมาณ 11,500 บาท) ส่วนระยะ 26 กม. และ 16 กม. จะรับถ้วยรางวัล สำหรับอันดับที่ 1-5 ชายและหญิง โดยประโยชน์ของการจัดงานครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้มีโอกาสสัมผัสกับความสวยงามของธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรม อาหาร รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนใต้
ทั้งนี้ ต่างชาติยกให้ อ.เบตง เป็นเพชรที่ซ่อนในภาคใต้ จึงถือเป็นสิ่งที่น่ายินดีที่นักท่องเที่ยวต่างชาติชื่นชมความสวยงามของเมืองเบตง พร้อมยกระดับการจัดแข่งขันให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันและผู้ติดตามมั่นใจ ประทับใจในการเดินทางมาร่วมแข่งขัน และดึงดูดให้นักวิ่งเทรลทั่วโลกกลับมาเยือนทุกๆ ปี ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวที่ดี โดยเฉพาะมิติด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่สายตาชาวโลก
วรรณกรรม - ศิลปะ - วัฒนธรรม
หนังตะลุงและมโนราห์ ลิเกป่าและเพลงบอก คือศิลปะวัฒนธรรม ที่ถือเป็นการละเล่นในท้องถิ่น
โดย.. ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
หนังตะลุงและมโนราห์ ลิเกป่าและเพลงบอก คือ “ศิลปะวัฒนธรรม” ที่ถือเป็นการละเล่น ในท้องถิ่น ที่มีประวัติความเป็นมา ที่เก่าแก่และยาวนานของผู้คนในภาคใต้ ที่เคยผ่านความรุ่งเรืองและรุ่งโรจน์มาในยุคสมัยหนึ่ง ที่ถูกกล่าวขาน ถึงในศิลปะการแสดง ที่เป็นที่จดจำจนกลายเป็นตำนานที่กลายเป็นอดีตไปแล้ว
เช่น “มโนราห์เติม วิน-วาด” คณะมโนราห์ชื่อดังจากเมืองตรัง หนังกั้น ทองหล่อ หนังฉิ้น ธรรมโฆษณ์ แห่ง จ.สงขลา หนังพร้อมน้อย ตะลุงสากล หรือ “พร้อม บุญฤทธิ์” ที่มีประวัติจาก “นายหนังตะลุง” ไปเป็น “ส.ส.” หรือผู้แทนราษฎรแห่ง จ.พัทลุง และหนังอิ่มเท่ง หนัง นครินทร์ ชาทอง หนังสกุล เสียงแก้ว ซึ่งหลายท่านเป็น “ศิลปินแห่งชาติ” ที่เป็นผู้มีชื่อเสียง และคุณูประการต่อวงการศิลปินพื้นบ้านอย่างอเนกอนันต์
วันนี้ วงการของ “ศิลปินพื้นที่บ้าน” อย่างลิเกป่าและเพลงบอก อาจจะเหลืออยู่ไม่กี่คณะทั้งภาคใต้ และอาจจะหมดไปตามกาลเวลา เพราะคนสมัยใหม่ไม่รู้จัก และไม่นิยมชมชอบการละเล่น หรือการแสดงของศิลปินพื้นถิ่นในยุคเก่า เช่นเดียวกับมโนราห์และหนังตะลุง ที่ แม้จะมีอยู่จำนวนไม่น้อยในภาคใต้ ที่ยังรับงานแสดงอยู่ แต่การแสดงก็ไม่ชุกชุมเหมือนในอดีต ที่หนังตะลุงบางคณะอย่าง “หนังน้องเดียว” ที่เคยมีขันหมากรับการแสดงข้ามปี และมี “ค่าราด” ที่กล่าวขานว่า แพงที่สุดในหมู่คณะหนังตะลุงในภาคใต้
โดยเฉพาะคณะหนังตะลุงใน “ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” ซึ่งมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 30 คณะ ที่ส่วนหนึ่งเป็นนายหนังรุ่นใหม่ ที่เข้ามาทดแทนคณะหนังตะลุงรุ่นเก่า ที่อายุมากและล้มหายตายจากไปจากวงการศิลปินพื้นบ้าน เหลือแต่ชื่อเสียงเป็น “ตำนาน” ให้กล่าวถึงและกำลังเลือนหายไปตามกาลเวลา
วันนี้ สถานะของหนังตะลุงในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ก็ยังคงลุ่มๆ ดอนๆ แบบยึดเป็นอาชีพไม่ได้ ยกเว้นบางคณะที่มีชื่อเสียง แต่การที่จะมีผู้รับไปแสดงเดือนละ 20 คืน หรือ มากกว่านั้นอย่างในอดีตคงจะไม่หวนกลับมาอีกแล้ว เพราะเท่าที่ติดตามการแสดงของหนังตะลุง จะเห็นว่า ส่วนใหญ่เป็นงานแก้บน เป็นงานวัด งานประเพณี วัฒนธรรม หรืองานประจำปี เช่น งานสารทเดือนสิบที่ จ.นครศรีธรรมราช ส่วนงานกาชาด งานสวนสนุก เป็นงานที่หนังตะลุงได้รับการติดต่อไปแสดงน้อยต่อน้อย
จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของคณะหนังตะลุง ที่เป็นพัฒนาการ เพื่อนำเสนอการแสดงในแนวใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่คนดูหนังตะลุงไม่ได้นั่งหน้าจอ เพื่อชมการแสดงคน “รุ่งแจ้งคาตา” เหมือนในอดีต แต่คนดูหนังตะลุง หลังเที่ยงคืนก็กลับบ้านแล้ว คณะหนังตะลุงจึงแสดงให้คนดูไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง การเล่นหนังหรือแสดงหนังจึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการเล่นเรื่องไปเน้นความบันเทิง “ตลกโปกฮา” และการร้องเพลงเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการเดินเรื่องและขับกลอนลดน้อยลง เพราะแม้กลอนดีและเสียงหวาน แต่คนรุ่นใหม่เข้าไม่ถึงศิลปะเหล่านี้ หลายคณะที่เป็น “นายหนังรุ่นใหม่” ที่ นำเอาผู้เล่นตลกและคนดังที่เป็นดาวติ๊กต็อกไปโชว์ตัว โชว์เสียง โชว์ลีลา ให้ผู้มาชมการแสดงได้ดู จึงเป็นอีกช่องทางในการเรียกผู้ชมให้ติดตามการแสดงของคณะหนังตะลุง แม้จะผิดเพี้ยนจาก “ขนบ” ดั้งเดิมของหนังตะลุงในอดีต ตาเป็นความจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
และอีกความเปลี่ยนแปลงคือ การแสดงที่นำเสนอผู้ชมในยูทูปและติ๊กต็อก และในช่องทางอื่นๆ ในสื่อโชเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นช่องทางของการเสพสื่อ ที่ทันสมัย สอดคล้องกับโลกในปัจจุบัน ที่ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย และเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปดูไปชมการแสดงถึงสถานที่หน้าเวที
เป็นการแสดงบนยูทูปและติ๊กต็อก ที่เป็นคลิปสั้นๆ เน้นตลกโปกฮา สร้างอารมณ์ขันเป็นด้านหลัก แต่ก็มีผู้ติดตามที่มากพอสมควร เป็นการลงทุนไม่น้อยกว่าการแสดง ที่มีทั้งลูกคู่และอุปกรณ์การแสดง ที่ต้องใช้รถ 6 ล้อ ในการบรรทุกอุปกรณ์การแสดง ในขณะที่ค่าจ้างลดน้อยลง และที่สำคัญ บางครั้งผู้ที่มาชมการแสดงที่หน้าโรงหนัง อาจะน้อยกว่าลูกคู่และพนักงานของคณะหนังด้วยซ้ำ นี่หมายถึงนายหนัง ที่ชื่อเสียงยังไม่ดัง ซึ่งเป็นนายหนัง หรือคณะหนังรุ่นใหม่ ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
“ชนนพัฒน์ นาคสั้ว” ผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐ เขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นบุคคล ที่มองเห็นถึงความไม่แน่นอนของอาชีพการเป็นคณะหนังตะลุงในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ได้กล่าวว่า ตนเองมองเห็นถึงปัญหาของนายหนังตะลุงและคณะหนังตะลุง ที่ประกอบด้วยผู้คนจำนวนหนึ่ง ที่ประกอบเป็นคณะหนัง แต่ละคณะ ไม่ต่ำกว่า 10 คน ที่เมื่อคณะหนังมีการแสดงน้อยลง ก็ต้องได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดน้อยลง ต้องประกอบอาชีพอื่นๆ เป็นอาชีพหลัก เพราะการเป็นลูกคู่ของการแสดงหนังตะลุง รายได้ไม่แน่นอน ซึ่งในระยะยาว ย่อมส่งผลกระทบถึงอาชีพการเป็นลูกคู่ ที่เป็นศิลปะของการเล่นดนตรี ที่อาจจะสูญหายไปในอนาคต เช่น นายปี่ นายทับ นายโหม่ง และมือซอ เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ได้รับผลกระทบจากการที่หนังตะลุงมีผู้รับไปแสดงน้อยลง คือผู้ที่มีอาชีพในการแกะรูปหนัง ที่ใช้ในการแสดง ที่เป็นงานศิลปะในอีกแขนงหนึ่ง ที่เมื่อการแสดงของคณะหนังน้อยลง ความต้องการ “รูปหนัง” ก็จะน้อยลง ซึ่งกระทบกับรายได้และงานฝีมือที่อาจจะต้องเลิกราไปในที่สุด
“ในฐานะของ ส.ส. ที่เป็นผู้แทนในเขต 4 สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ผมมีนโยบายในการส่งเสริมการแสดงหนังตะลุง และการอนุรักษ์ศิลปะ ศิลปินพื้นบ้าน สาขาหนังตะลุง ที่มีอยู่ประมาณ 25-30 คณะ ให้สืบสานศิลปะวัฒนธรรม การเล่นหนังหรือการแสดงหนังตะลุง ให้มีรายได้ ที่ยึดเป็นอาชีพ มีงานการแสดง และมีการตั้งกองทุน หรือการได้รับการดูแล และการส่งเสริม จากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน”
“ขณะนี้ อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล อุปสรรค ปัญหาต่างๆ ของคณะหนังตะลุงในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะสืบสานศิลปะวัฒนธรรม การแสดงหนังตะลุง ให้เป็นอาชีพที่มั่นคง เพื่อให้ศิลปะการแสดงหนังตะลุงอยู่คู่กับประชาชนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสืบไป”
แน่นอน เรื่องของหนังตะลุง หรือการแสดงหนังตะลุง คือ เอกลักษณ์ของคนใต้ที่มีความสำคัญ ที่บอกถึงรากเหง้าของคนใต้ ที่เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรม ที่ต้องดำรงไว้เพื่อให้อยู่คู่กับคนใต้ตลอดไป จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ ส.ส.ที่เป็นคนรุ่นใหม่ อย่าง “ชนนพัฒ์ นาคสั้ว” ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เขต 4 สงขลา มองเห็นถึงความสำคัญ และมีแนวทางในการส่งเสริมสนับสนุนการแสดงหนังตะลุง ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาให้มั่นคงสืบไป
“พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา” นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด จ่าเพียรขาเหล็ก
12 มี.ค.2553 พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผกก.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา เสียชีวิตจากการซุ่มโจมตีด้วยการวางระเบิดรถยนต์ และยิงถล่มซ้ำด้วยอาวุธสงคราม ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่บ้านทับช้าง ต.ตลิ่งชัน ขณะนำกำลังออกปฏิบัติการกดดันแนวร่วมขบวนการ
นั่นคือปฏิบัติการสุดท้ายของ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา หรือ “จ่าเพียร ขาเหล็ก” ที่เป็นสมญานามของ พ.ต.อ.สมเพียร ที่ได้ทำหน้าที่ ปกป้องประเทศชาติ และประชาชนด้วย “ชีวิต” ปิดฉากชีวิตของนักรบ นักสู้ แห่งเทือกเขาบูโด อันลือลั่นกว่า 40 ปี
วันนี้ในอดีต เมื่อ 13 ปีที่แล้วตรงกับวันที่ 12 มีนาคม 2553 วันถึงแก่กรรม พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรบันนังสตา จังหวัดยะลา ได้ฉายาว่า จ่าเพียรนักสู้แห่งเทือกเขาบูโด และจ่าเพียรขาเหล็ก
พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา เป็นอดีตผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบันนังสตา จังหวัดยะลา รับราชการตำรวจตั้งแต่เป็นพลตำรวจ จนถึงยศพันตำรวจเอก และได้รับพระราชทานยศพลตำรวจเอกเป็นกรณีพิเศษ
จากการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเวลากว่า 40 ปี กระทั่งเคยได้รับการโปรดเกล้าฯ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
กระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี 2525 จากการเสนอขอพระราชทานโดย พล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ เป็นตำรวจชั้นประทวนคนแรกที่ได้รับพระราชทาน
พล.ต.อ.สมเพียร เกิดวันที่ 6 พฤศจิกายน 2493 ที่ ต.วังใหญ่ อ.เทพา จ.สงขลา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนมัธยมเทพา มัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมา เข้าเรียนที่โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา เมื่อปี 2513 (นพต. รุ่น 15) เริ่มต้นชีวิตรับราชการตำรวจที่ สภ.อ.บันนังสตา จ.ยะลา
วันที่ 12 มีนาคม 2553 ในขณะที่ พล.ต.อ.สมเพียร นั่งรถยนต์กระบะยี่ห้อโตโยต้าไฮลักซ์ วีโก้ 4 ประตู สีน้ำตาล หมายเลขทะเบียน กข 9302 ยะลา พร้อมลูกน้อง 3 นาย และ อส.คนสนิทอีก 1 นาย ออกไปติดตามหาข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หลังทราบข่าวว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ออกมาเคลื่อนไหวในพื้นที่เพื่อเตรียมก่อเหตุร้ายครั้งใหญ่
เมื่อขับรถยนต์มาถึงบริเวณที่เกิดเหตุ มีคนร้ายไม่ทราบกลุ่ม จำนวน 5-8 คน กดระเบิดที่ฝังไว้ และใช้อาวุธสงครามยิงเข้าใส่ จำนวนหลายชุด เกิดการปะทะกันประมาณ 10 นาที เมื่อกำลังเสริมเข้าไปกลุ่มคนร้ายได้ล่าถอยเข้าไปในป่า ทั้งหมดถูกลำเลียงทั้งทางรถยนต์ และทางเฮลิคอปเตอร์เป็นการด่วน
แรงระเบิดและคมกระสุนส่งผลให้ พล.ต.อ.สมเพียร ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตที่ รพ.ศูนย์ยะลา สิริอายุ 59 ปี และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทยเป็นกรณีพิเศษ
ก่อนหน้านั้น วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ได้เดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อร้องเรียนกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับรอง ผบก.สว.ที่ผ่านมา
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้ยื่นความจำนงขอพิจารณาโยกย้ายเป็น ผกก.สภ.กันตัง จ.ตรัง พื้นที่ของ บช.ภาค 9 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ว่างอยู่ในปีสุดท้ายก่อนจะเกษียณอายุราชการ แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ครั้งนั้นผู้กำกับกระดูกเหล็กถึงกับหลั่งน้ำตาและเปิดใจตัดพ้อไว้ว่า...
"รับราชการตำรวจมาร่วม 40 ปี และใช้ชีวิตอยู่ใน สภ.บันนังสตา มานานตั้งแต่สมัยชั้นประทวน ต่อสู้กับคนร้ายจนรอดตายมาหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บสาหัสก็หลายหน ครั้งนี้รู้สึกเหนื่อยล้า และเป็นปีสุดท้ายก่อนจะเกษียณอายุราชการ จึงขอโยกย้ายออกนอกพื้นที่ไปอยู่บ้านภรรยาที่ตรัง
และผู้บังคับบัญชารับปากจะพิจารณาให้ย้ายไปที่โรงพักดังกล่าว แต่พอคำสั่งแต่งตั้งมาปรากฏว่าไม่ได้ย้าย คงอยากจะทำเรื่องขอพระราชทานยศ พล.ต.อ.ให้ตนตอนตายแล้วมากกว่า"
วันที่ 17 มีนาคม 2553 เมื่อเวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ณ วัดคลองเปล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ยังความปลื้มปีติให้แก่ครอบครัวของ พล.ต.อ.สมเพียร เป็นล้นพ้น
ปัจจุบัน มีรูปปั้นจ่าเพียร ซึ่งมีการสร้างไว้ในวัดคลองเปล เพื่ออนุสรณ์สถานในคุณงามความดีของจ่าเพียร และบทประพันธ์สดุดีความกล้าหาญของจ่าเพียร ที่สละชีพเพื่อชาติ “วีรชนคนกล้าของแผ่นดิน” มีเนื้อความว่า
จากลูกพล สู่นายพล ด้วยผจญความร้อนหน้าว ผ่านศึกทุกครั้งคราว บากบั่นสู้ไม่ถอยหนี จากแรงกายสู่แรงใจ ทุ่มเทให้ในหน้าที่ สละเลือดเป็นชาติพลี ขอสดุดี "จ่าเพียร"
- สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย
- สมาคมหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย