บทบาทของ ‘ม.ทักษิณ’ ในสถานการณ์โรคระบาด และการก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19
โดย... รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ในท่ามกลางการระบาดและการเผชิญหน้ากับปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นั้น มหาวิทยาลัยทักษิณ ภายใต้วิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม” และปณิธานมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม และมีทรัพยากร เทคโนโลยี องค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม ที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไข และบรรเทาความรุนแรงผลกระทบที่เกิดขึ้น การส่งเสริมสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม การร่วมสร้างสังคมวิถีใหม่ รวมถึงการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองในเชิงสถาบันที่ใกล้ชัดกับชุมชนท้องถิ่นอย่างหลากหลาย
บทความนี้จึงเขียนด้วยความมุ่งหวังเป็นพื้นที่การสื่อสารบทบาทมหาวิทยาลัยทักษิณกับสังคมในเชิงสถาบันและการสร้างความเชื่อมโยง ขยายผลไปยังภาคีความร่วมมือเชิงสถาบันและภาคส่วนอื่นในการร่วมกันก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน โดยเน้นนำเสนอบทบาทมหาวิทยาลัยผ่านมาและนับแต่การระบาดในระลอกแรกถึงปัจจุบัน และทิศทาง ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับภาคีอื่นๆ ในอนาคต
ภายใต้ฐานคิดที่สำคัญคือการสร้างนวัตกรรมสังคมในฐานะที่เป็นเครื่องมือและกระบวนการทางความคิด นโยบายและการปฏิบัติการทางสังคมและการสื่อสารในแพลตฟอร์มที่สามารถตอบสนองต่อปัญหา สถานการณ์ และการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยพันธกิจ องค์ความรู้ วิจัย และนวัตกรรมของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย การสร้างพื้นที่กลางเชื่อมร้อยภายใน การประสานความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของภาคี หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม (ภาพประกอบ 1) ทั้งการแก้ไขปัญหาในท่ามกลางวงล้อมของโควิด-19 การการบูรณาการเชื่อมโยงสู่การแก้ไขปัญหาสังคมในมิติอื่น เช่น การพัฒนาคุณภาพชีวิต การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จิตวิญญาณ และการเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการนวัตกรรมสังคมเชื่อมโยงในอนาคต ดังภาพประกอบ
1. บทบาทมหาวิทยาลัยทักษิณในสถานการณ์ระบาดโควิด-19
บทบาทของมหาวิทยาลัยทักษิณในระดับสังคมและพื้นที่นับแต่การระบาดในระลอกแรกเป็นต้นมา สามารถจำแนกได้ ใน 5 รูปแบบ ดังนี้ 1) การถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่สังคมและชุมชน ผ่านการใช้ทุนความรู้ เทคโนโลยี งานวิจัยและนวัตกรรมของคณะ และหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย 2) การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฐานราก 3) การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามและกิจกรรมเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมการป้องกันโรค 4) การต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ และ 5) การสร้างพลเมืองทักษิณสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ผ่านมา ดังนี้
1.1 การถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่สังคมและชุมชน ด้วยความรู้ เทคโนโลยี งานวิจัยและนวัตกรรมของคณะ และหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย
บทบาทการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่สังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยได้ใช้กลไกไกคณะ และหน่วยงานภายในเป็นตัวขับเคลื่อนโดยเน้นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปปใช้ได้ในทันทีในมิติที่เป็นฐานและทุนของส่วนงานนั้น เช่น คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ ได้ผลิตเจลล้างมือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (Alcohol gel) ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานและการพกพา รวมถึงประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์เจลที่มีส่วนประกอบหลักเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) สำหรับแจกจ่ายให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และยังมีการส่งต่อความห่วงใยสู่สังคมด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านกิจกรรมสอน/สาธิตผลิตแอลกอฮอล์เจลล้างมือความเข้มข้น 70% เสริมสร้างสุขภาวะต้าน COVID-19
คณะฯ ยังเปิดให้บริการ “หน่วยพัฒนาการแปรรูปและนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตร (Inno Agro Industry and Processing Development Unit)” เพื่อช่วยในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากผลผลิตทางการเกษตรที่ประสบปัญหาล้นตลาดและมีราคาถูก ช่วยยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการของชุมชนหรือท้องถิ่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร และด้านการพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจแปรรูปอาหารและเครื่องสำอางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
คณะวิทยาศาสตร์ ดำเนินการสกัดแอลกอฮอล์จากสุรากลั่นชุมชน เพื่อนำมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นสูงในระดับ 90-95% เพื่อนำไปใช้ต่อในการผลิตเป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ COVID-19 ซึ่งได้แจกจ่ายฟรีไปยังประชาชนทั่วไป หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งจุดคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ทั้งนี้การสกัดแอลกอฮอล์ การผลิตหน้ากากใส ปริ้น 3 มิติ ด้วยวัสดุ PLA พลาสติกแข็ง สามารถทำความสะอาดได้ การเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการ การSciences Talk และการจัดเสวนา การสนทนาสดสดผ่านแพลตฟอร์มของคณะและ We TSU
คณะวิศวกรรมศาสตร์ คิดค้นนวัตกรรมกรีนซิลเวอร์นาโนเคลือบหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรค ที่มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการต่อต้านเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส พร้อมใช้พ่นหน้ากากอนามัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรค การออกแบบและสร้างเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์อัตโนมัติ (Automatic Alcohol Gel Dispenser; AAGD) โดยไม่มีการสัมผัสเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความสบายใจให้กับผู้ใช้เจลแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดมือได้เป็นอย่างดี
คณะวิทยาสุขภาพและการกีฬาและคณะพยาบาลศาสตร์ พัฒนารูปแบบการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการทรงตัว ความจำ ความทนทานของระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจและการไหลเวียนโลหิต โดยใช้ชื่อว่า "โปรแกรมไอ้เท่ง" ซึ่งเป็นโปรแกรมการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้าง และพัฒนาสมรรถนะของผู้สูงอายุ เป็นการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ ที่สร้างความสนุกสนาน ความบันเทิง และการผ่อนคลายและการเสวนาออนไลน์หัวข้อ “ร่วมเรียนรู้ อยู่ปลอดภัย ฝ่าโควิด-19”
คณะนิติศาสตร์ จัดตั้งศูนย์นิติศาสตร์ชุมชน ในการให้คำปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น ถูกเลิกจ้าง การถูกให้ออกจากงานกะทันหันโดยอ้างเหตุสุดวิสัย หรือผลกระทบจากการลดค่าตอบแทนเนื่องจากต้องลดเวลาของการทำงาน หรือแม้แต่การไปทำงานไม่ได้เนื่องจากการประกาศ พ.ร.ก. การขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตามกฎหมาย เป็นคนกลางที่ประสานระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบเศรษฐกิจ ได้พูดคุยกันด้วยความสมานฉันท์ในสังคม ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในทางแพ่ง เพื่อให้โอกาสลูกหนี้หาทางชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามความสามารถ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ใช้แนวคิดและเครื่องมือทางศิลปะและวัฒนธรรมเป็นช่องทางสื่อสารสู่สังคม ให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และประชาชนทุกคน ที่เสียสละ อดทนทุ่มเททำหน้าที่เพื่อส่วนรวมให้ฝ่าฟันวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยร่วมกันผลิตเพลง “กำลังใจต่อกัน (หัวใจข้ามฝ่า)” และเพลง “ใจหนึ่งเดียว” สื่อความหมาย สายใยที่สำคัญที่สุดในการอยู่ร่วมกันในสังคมไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด หรือห่างไกลออกไป คือกำลังใจที่เข้มแข็ง การเอื้อเฟื้อและการแบ่งปันหลอมรวมพลัง ส่งผ่านกำลังใจเพื่อก้าวผ่านโควิด-19
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดทำโครงการบันทึกประวัติศาสตร์ผ่านทางหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ภายใต้แนวคิดและความเชื่อพื้นฐานว่าการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของประวัติศาสตร์ ที่ควรบันทึก จารึกอารมณ์ รอยทาง สร้างผ่านการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการสร้างพื้นที่ บทสนทนาแห่งยุคสมัย ผ่านกวีนิพนธ์ เพราะกวีนิพนธ์ไม่ได้สร้างขึ้นจากความว่างเปล่า การประดิษฐ์สร้าง เลือกเฟ้นถ้อยคำ วาทกรรม และภาษา แต่คือประวัติศาสตร์สังคมที่สะท้อนจากห้วงลึกภายใน โดยนิสิตร่วมกันนิพนธ์
สำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน (สสช.) เปิดหลักสูตรการทำอาหารปักษ์ใต้ โดยเน้นใช้วัตถุดิบของท้องถิ่น ภายใต้ “โครงการบริการความรู้สู้โควิด-19 ด้วยภูมิปัญญาใต้” จำนวน 6 หลักสูตร และเปิดโครงภูมิปัญญาสมุนไพรสู้ภัยโควิด -19 จำนวน 5 หลักสูตร รวม 11 หลักสูตร ดังนี้ การแปรรูปปลาดุกร้า GI การแปรรูปแป้งสาคูต้นแท้ ข้าวยำสมุนไพรปักษ์ใต้ แกงส้มปักษ์ใต้ น้ำพริกและน้ำพริกแห้ง การผลิตสเปรย์แอลกอฮอล์มิติใหม่ (TSU ALCOHOL SPRAY) สูตรผสมสมุนไพรพื้นบ้าน การผลิตเจลแอลกอฮอล์อโรม่าสูตรสกัดจากสมุนไพรพื้นบ้าน โลชั่นแอลกอฮอล์สมุนไพร และสมุนไพรพื้นบ้าน “กันป่วย” “กิน-อยู่” ยุคโควิด 19
นอกจากนี้ยังได้บูรณาการความรู้ข้ามส่วนงานเพื่อถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมการร่วมกันหลายหน่วยงาน เช่น ร่วมกันผลิตทอล์กโชว์หนังตะลุงรณรงค์ป้องกันโควิด-19 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งให้ทุกคนข้ามผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาด ร่วมกับคณะ"เพลงเรือแหลมโพธิ์ บ้านหัวนอนวัด" ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ใช้ “เพลงเรือแหลมโพธิ์” ซึ่งเป็นการละเล่นที่สืบทอดมายาวนาน เป็นเพลงที่ฝีพายเรือยาวร้องเล่นกันในเรือร่วมกับประเพณีชักพระ วันออกพรรษา มีเอกลักษณ์เฉพาะ
สำหรับรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดและสร้างความตระหนักให้กับประชาชน ชุมชนด้วยวัฒนธรรม การเสวนาออนไลน์ COVID PANIC DISORDER ปรับตัวอย่างไรไม่ตระหนก ? ขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมสู้ภัย COVID-19 (TSU Social Innovation Driven to Fight Against COVID-19 โดยความร่วมมือคณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ สำนักส่งเสริมการบริการการวิชาการฯ และสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นต้น
1.2 การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฐานราก
มหาวิทยาลัยทักษิณได้จัดทำโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฐานรากที่เชื่อมโยงกับการจ้างงานระยะสั้น ระยะกลาง การพัฒนาทักษะสำหรับการประกอบการใหม่ (Reskill Upskill) และการพัฒนาชุมชน สังคมฐานราก ที่สำคัญได้แก่
- โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ภายใต้ชื่อ โครงการ “อาสาสมัครชุมชน” สู้ภัยโควิด มหาวิทยาลัยทักษิณ จากงบประมาณของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) จำนวน39,872,000 บาท เพื่อรองรับผู้ที่ว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19 เสริมสร้างศักยภาพให้กับกำลังแรงงานสมัยใหม่ และ 3)ส่งเสริมการพัฒนาทักษะในการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้แก่แรงงาน ใน 166 ตำบล ของจังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2563
ผลการดำเนินโครงการ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนในจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ในแง่การสร้างงานให้กับประชาชน เกิดการกระจายงบประมาณลงสู่ชุมชน เกิดการพัฒนาประชาชน หรือแรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการในทักษะใหม่ ๆ ทางด้านวิชาการและองค์ความรู้ที่สร้างความชำนาญเฉพาะด้าน ตลอดจนใช้ความรู้ที่ได้รับการพัฒนา เพื่อการแก้ไขปัญหาและร่วมกันพัฒนาชุมชน ให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตำบลที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยอาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยทักษิณ มาร่วมดำเนินการพัฒนา เกิดเป็นข้อเสนอโครงการเชิงสังคมและเชิงเศรษฐกิจเพื่อการแก้ปัญหาของท้องถิ่นและชุมชนอย่างยั่งยืน
- โครงการ “นวัตกรชุมชน” มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นโครงการภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (TSU-2T) โยงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จำนวน 212,095,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator 2) การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) 3) ให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ชุมชน
และ 4) เกิดการพัฒนาตำบลตามปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยมีการจ้างานทั้งสิ้น 1,300 อัตรา รวม 11 เดือน แบ่งเป็นจ้างงานประชาชนทั่วไปที่อยู่ในพื้นที่ หรือพื้นที่ใกล้เคียง ที่ว่างงาน และไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง จากหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชน และไม่ได้รับความช่วยเหลือในการจ้างงานจากภาครัฐที่ให้การช่วยเหลืออยู่ จำนวน 325 อัตราๆ ละ 9,000 บาทต่อเดือน บัณฑิตจบใหม่ เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 3 ปี และมีความรู้ ความสามารถที่ตรงต่อภารกิจในการปฏิบัติงาน จำนวน 650 อัตราๆ ละ 15,000 บาทต่อเดือน และนิสิตนักศึกษา หรือผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ และมีความรู้ความสามารถที่ตรงต่อภารกิจในการปฏิบัติงาน จำนวน 325 อัตราๆ ละ 5,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะส่งผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน ตำบลละ 20 คน เพื่อทำหน้าที่พัฒนา/ ริเริ่มโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน อาทิ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับการท่องเที่ยว การนำองค์ความรู้บริการชุมชน การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมีคณาจารย์ทำหน้าให้คำปรึกษาและกำกับติดตามการดำเนินงานของนวัตกรชุมชนอย่างใกล้ชิด
- โครงการสุดยอดแนวคิดนวัตกรรมใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก หรือโครงการแฮกกาธอน (Hackathon) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงาน ระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนรู้ และปฏิบัติจริงในชุมชน (Community-integrated Learning) และนำเสนอผลการเรียนรู้ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) Creative Economy 2) Technology/Health Care 3) Circular Economy และ 4) Art and Culture
ซึ่งการแข่งขันแฮกกาธอน (Hackathon) ระดับภูมิภาค (ภาคใต้ตอนล่าง) มีทีมที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 147 ทีม สำหรับสุดยอด 5 ทีมที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของระดับภูมิภาค (ภาคใต้ตอนล่าง) จะได้รับเงินรางวัลทีมละ 50,000 บาท พร้อมโล่เชิดชูเกียรติ เพื่อนำแนวทางการพัฒนาในรูปแบบไอเดียไปทดลองทดสอบในพื้นที่จริง ภายใต้คำแนะนำของพี่เลี้ยง และผู้นำชุมชนเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อพัฒนาเป็น “ตัวแบบ” หรือผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ก่อนเข้าสู่การเฟ้นหา 5 สุดยอดแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในการแข่งขันระดับประเทศต่อไป
ในส่วนของมหาวิทยาลัยทักษิณผู้เข้าโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ส่งโครงการเข้าประกวดมากถึง 55 ทีม ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยสำนักส่งเสริมการบริการวิชาการจะร่วมกับสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน สร้างความความเชื่อมโยงโครงการด้วยการจัดกิจกรรมบ่มเพาะเพื่อต่อยอด และพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมชุมชนและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากต่อไป
โครงการสนับสนุนชุมชนนวัตกรรม เพื่อการพึ่งตนเองและการประกอบการ โดยเน้นการนำองค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน การส่งเสริม การพัฒนา สร้างผู้ประกอบการ การตลาดออนไลน์ ชุมชนนวัตกรรมที่โดดเด่นในช่วงปี 2563-2564 ได้แก่
นวัตกรรมชุมชนในระบบบริหารจัดการกลุ่มแบบธนาคารการเลี้ยงแพะเนื้อแบบหวะในรูปแบบธนาคารโดยการบริหารจัดการด้วยกลุ่มและการพัฒนาฟาร์มต้นแบบจากระบบการเลี้ยงแบบธรรมชาติให้เป็นระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มแพะเนื้อ (Good Agricultural Practice: GAP) หรือ มาตรฐาน GAP ในการพัฒนาการศึกษาของคนที่ด้อยโอกาสผ่านกลุ่มอาชีพ โดยเครื่องมือนี้เป็นการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ศาสตร์ทางเกษตร ศาสตร์ทางกฎหมาย ศาสตร์ทางสังคมและมนุษย์ ศาสตร์ทางการเงินและการบัญชี ใช้ในการออกแบบรูปแบบการศึกษาผ่านอาชีพ ให้เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มอาชีพและพื้นที่ มีหน่วยงานมหาวิทยาลัยทักษิณ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานสหกรณ์การเกษตร สำนักงานตรวจบัญชี และหน่วยงานในระดับพื้นที่ (เทศบาลตำบลคลองใหญ่ และ เทศบาลตำบลควนเสาธง จังหวัดพัทลุง)ให้การสนับสนุน
นวัตกรรมแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและยั่งยืนจังหวัดพัทลุง เพื่อพัฒนาระบบค้นหาและสอบทานเพื่อช่วยเหลือคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (Personalize Poverty Alleviation) พัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ วิเคราะห์รูปแบบของปัญหาคนจนกลุ่มเป้าหมายและนำไปสู่การสร้างโมเดลความช่วยเหลืออย่างเบ็ดเสร็จ แม่นยำและยั่งยืน พัฒนาโมเดลการจัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มทักษะการดำรงชีวิตเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในคนจนกลุ่มเป้าหมายของจังหวัดพัทลุง และสังเคราะห์ภาพรวมและจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเชื่อมโยงกับแผนจังหวัดพัทลุงและนำเข้าสู่การขับเคลื่อนเป็นการพัฒนายุทธศาสตร์ของจังหวัดพัทลุง เป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการที่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาความยากจน
นวัตกรรมหม้อไอน้ำประสิทธิภาพสูงสำหรับสำหรับนึ่งก้อนเชื้อเห็ดระดับชุมชนกลุ่มวิสาหกิจเพาะเห็ดนางฟ้าบ้านป่าพงศ์ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวของเกษตรเพื่อหารายได้เสริมโดยการเพาะเห็ดนางฟ้าขาย
การจัดการเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาสามน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุงและสงขลา ภายใต้การร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำให้กับประชาชนในตำบลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพประมงและการแปรรูปปลาสามน้ำในเขตพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา ทำให้เกิดแนวทางในการอนุรักษ์ปลาสามน้ำทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ทรัพยากรปลาสามน้ำเพิ่มขึ้น สร้างนวัตกรในชุมชนเกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชน และสร้างรายได้ให้กับชุมชน
1.3 บทบาทมหาวิทยาลัยกับการการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฐานรากการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามและกิจกรรมเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมการป้องกันโรค
มหาวิทยาลัยทักษิณ และหน่วยปฏิบัติการ อว.ส่วนหน้า ได้ร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรภาคีทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดพัทลุงเปิดโรงพยาบาลสนามรอบที่ 1 ขนาด 350 เตียง ในชื่อ “ศูนย์น้ำใจคนเมืองลุง” ณ สำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ พื้นที่พนางตุง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 พร้อมๆ กับการเปิดรับบริจาคเพื่อสมทบทุนผลิตสเปรย์และเจลแอลกอฮอล์สมุนไพรแจกจ่ายประชาชน/ ชุมชน และจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับโรงพยาบาลสนาม มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามทั้งสิ้น 139 คน ทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยและผู้ป่วยคนสุดท้ายออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในภาพรวมของประเทศและในจังหวัดพัทลุงที่พบคลัสเตอร์การระบาดเพิ่มเติม ทำให้โรงพยาบาลหลักไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ทั้งหมด ประกอบกับนโยบายในการคัดกรองและจำแนกผู้ป่วยออกเป็นระดับต่างๆ รวมถึงนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ประสานให้ทุกมหาวิทยาลัยเปิดโรงพยาบาลสนามทุกจังหวัดสนับสนุนการการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโดยให้ประสานงานหน่วยงานภาคีในจังหวัดนั้น
มหาวิทยาลัยทักษิณและหน่วยงานภาคีในพื้นที่ภายใต้คณะกรรมการจัดเตรียมสถานที่รองรับการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม จึงเห็นชอบร่วมกันในการเปิดโรงพยาบาลสนาม ภายใต้ชื่อศูนย์น้ำใจคนเมืองลุง รอบสอง รองรับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ขนาด 300 เตียง ขึ้น ณ สำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ พื้นที่ ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง อีกครั้งเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา
อนึ่งในช่วงแรกของการฉีดวัคซีน ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดความมั่นใจต่อการฉีดวัคซีน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ด้วยแคมเปญ “ฉีดกันตะ..ได้มาหนุกกันหลาว (Get the Vaccine to Save Lives) ด้วยการจัดขบวนรถ Mobile Unit รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในกิจกรรม U2T - COVID WEEK “ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด” ที่กระทรวงอว. ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนในพื้นที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ยังได้วางแผนเตรียมการร่วมมือกับองค์กรหน่วยงานในพื้นที่ในระดับจังหวัด และหน่วยงานท้องถิ่น ในการรณรงค์ เผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการป้องกันตนเอง การปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) การจัดตั้งชุมชนเกื้อกูล (Community Isolation) เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อที่รอการส่งต่อยังโรงพยาบาล การสกัดกั้นการระบาดลุกลามของเชื้อโรคในระดับครัวเรือน/ชุมชน/ หมู่บ้าน อันเป็นการแบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์ การบรรเทาการรักษาผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง
1.4 การต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์
มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ TSU NanoMask และ TSU Herbal Alcohol Spray ตอบรับสังคมวิถีใหม่ ด้วยการนำผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงสังคม ด้วยศักยภาพองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยที่จะพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เคลือบซิลเวอร์นาโนและสเปรย์แอลกอฮอล์สมุนไพร จากองค์ความรู้และนวัตกรรม การผสมผสานบูรณาการวิทยาการสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคทุกระดับในสังคมยุควิถีใหม่ และการรณรงค์ป้องกันโรคตามแนวทาง D-M-H-T-T-A ด้วยการนำผลงานวิจัยและอนุสิทธินวัตกรรมกรีนซิลเวอร์นาโนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เคลือบซิลเวอร์นาโน TSU NanoMask ที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้าน และลดการติดเชื้อโรคจากแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส เป็นต้น
จุดเด่นที่สำคัญของหน้ากากอนามัยนี้ก็คือ “การผลิตซิลเวอร์นาโนด้วยกระบวนการสีเขียว ซึ่งใช้สารจากธรรมชาติเป็นวัสดุหลักในการผลิต ทำง่าย และปลอดภัย ทำให้หน้ากากอนามัยมีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ทั้งรูปแบบของสารคัดหลั่งหรือการสัมผัส และป้องกันเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ ในขณะที่หน้ากากอนามัยทั่วไปจะทำไม่ได้”
ในส่วนของ TSU Herbal Alcohol เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผสมผสานสมุนไพรภูมิปัญญาท้องถิ่น กับองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเลือกใช้ว่านหางจระเข้ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยในการบำรุงผิว ทำให้หลังใช้สเปรย์แอลกอฮอล์มือจะมีความนุ่ม ชุ่มชื้น ประกอบกับผู้วิจัยได้เลือกใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) จากตะไคร้ และมะกรูด เพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอมตามธรรมชาติให้กับผลิตภัณฑ์ และช่วยผ่อนคลายให้กับผู้บริโภคในสถานการณ์ดังกล่าวได้ดี ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ TSU Herbal Alcohol Spray ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐาน Primary GMP จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค พกพาง่าย ใช้สะดวก ช่วยลดปริมาณเชื้อโรค สร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีคุณภาพ
1.5 การสร้างพลเมือง(ม.)ทักษิณสนับสนุนการแก้ปัญหาสังคม
ในท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นพลเมืองที่เรียกว่า “พลเมืองทักษิณ” ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร นิสิต ในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือประชาชน ตามศักยภาพ และโอกาสที่เอื้ออำนวย ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ แก่โรงพยาบาล อาหารและของใช้จำเป็นสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย ใกล้เคียง หรือชุมชนที่ถูกล็อกดาวน์ เป็นต้น การรับบริจาคเพื่อผลิตเจล สเปรย์แอลกอฮอล์ สำหรับแจกจ่ายประชาชน ชุมชนในจังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน คือการจัดทำโครงการ “อาสาสมัครระยะไกลสู้ภัยโควิด-19” (TSU Distance Volunteers) ชวนบุคลากรร่วมบรรจุสเปรย์แอลกอฮอล์มิติใหม่ (TSU Alcohol Spray) สูตรผสมสมุนไพรพื้นบ้านแบบพกพา สำหรับแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในช่วงสถานการณ์การระบาดอย่างรวดเร็ว และรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19
แต่จากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม การรณรงค์อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ หรือการทำงานที่บ้าน (Work from Home) จึงเชิญชวนบุคลากรร่วมเป็นอาสมัครบรรจุสเปรย์แอลกอฮอล์ โดยรับไปทำงานที่บ้านหรือที่พัก ซึ่งนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคมแบบง่ายๆ สบายๆ ทุกคนในครอบครัวสามารถลงมือลงแรงได้อย่างสนุก และเพลิดเพลินกับการติดสติ๊กเกอร์ บรรจุสเปรย์ผสมเสร็จพร้อมแจกจ่าย เป็นกิจกรรมที่ทั้งช่วยป้องกันโรค และสุขใจไปกับการแบ่งปันช่วยเหลือสังคมไปพร้อมกันแล้วยังจะสามารถปฏิบัติตนตามมาตรการรณรงค์ป้องกัน ยับยั้งการแพร่กระจายของโควิด-19 ได้ไปพร้อมๆ กัน
ในหลายส่วนงานยังได้เปิดพื้นที่สำหรับการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น การเปิดมุมมองใหม่กับการแก้ไขปัญหา เช่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดกิจกรรม “ปิดเทอมนี้มีเรื่อง (มา) เล่า” เปิดพื้นที่ให้นิสิตมาแชร์เรื่องเล่าผ่านเฟซบุ๊กคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมติด #ปิดเทอมนี้มีเรื่อง (มา) เล่า นำเสนอมุมมองหลากหลายประเด็นให้ได้รู้กันกับช่วงปิดเทอมใหญ่ในสถานการณ์ COVID-19 สะท้อนมุมมองความคิดของคนรุ่นใหม่ต่อสถานการณ์โควิด 19 และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ “HUSO Maid Challenge” เชิญชวนให้ผู้ร่วมกิจกรรมโพสต์รูปภาพหรือคลิปวิดิโอสั้นๆ เกี่ยวกับงานบ้านสไตล์ของตนเองผ่านเฟซบุ๊กพร้อมติด #HUSOmaidchallenge แล้วส่งแชร์ต่อไปยังเพื่อน ซึ่งทุกหนึ่งแชร์จะกลายเป็นมูลค่าเงินสำหรับการบริจาคแก่หน่วยงานสาธารณสุขเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนที่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อสมทบทุนสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์สู้ภัย COVID-19
และชวนคิดบวกส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและรณรงค์ให้อยู่บ้านหยุดเชื้อช่วยชาติในช่วงระบาดของโรค และคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา คณะพยาบาลศาสตร์ จัดอาสาสมัครสนับสนุนการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนร่วมกับโรงพยาบาลเครือข่าย สนับสนุนชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ป่วยโควิด-19ที่รักษาอยู่โรงพยาบาลสนาม วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนานำอาหารและสินค้าจากเกษตรกรสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม เป็นต้น
2. บทบาทมหาวิทยาลัยทักษิณกับการก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19
บทบาทมหาวิทยาลัยในการก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ยังคงเน้นการนวัตกรรมสังคมในรูปแบบต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น แต่จะเพิ่มเติม ริเริ่มกิจกรรมใหม่ในมิติและแง่มุมการนวัตกรรมสังคมร่วมกับภาคีภาครัฐและประชาสังคมในพื้นที่ที่เข้มข้นเพื่อการพัฒนา ฟื้นฟูสุขภาพชุมชน สังคม การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เช่นสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ลุกลามขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้เสียชีวิตอีกจำนวนหนึ่ง
ในขณะที่การดูแลรักษาการป้องกันโรค การเข้าถึงบริการทางการแพทย์มีขีดจำกัดไม่สามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้อย่างเพียงพอ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแผนการป้องกันรักษาโรคในรูปแบบการจัดการตนเองระดับครัวเรือนและชุมชน ที่เรียกว่า Home Isolation และ Community Isolation และการรักษาโรคทางเลือกด้วยภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่น มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมมือกับเครือข่ายแพทย์พื้นบ้าน จัดกิจกรรมรณรงค์ เผยแพร่ความรู้ และการสร้างพื้นที่ปฏิบัติการสาธิตการผลิตและการแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน ในรูปแบบการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live) ในมิติภูมิปัญญาสมุนไพรสู้ภัยโควิด-19 การปลูกและการผลิตสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองในชุมชน
การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร “ฟ้าทะลายโจรอัดแคปซูล” และการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร “ยาห้าราก ตำรับเขาอ้อ” การร่วมมือกับกลุ่ม องค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำพื้นที่ปฏิบัติการและศูนย์สาธิตระดับชุมชน อันจะเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกัน รักษาโรค และการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ให้มีขีดความสามารถในการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนในสังคมวิถีใหม่ (New Normal) ในประเด็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ ตามธงนำ (Flagships) ในแผนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ
การจัดทำแคมเปญ (Campaign) “TSU CARE ดูแลกัน” อันเป็นการดูแล แบ่งปันด้วยข้อมูล ความรู้ทางวิชาการ การรักษา และป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดูแลกันด้วยภูมิปัญญาสมุนไพร หน้ากากอนามัย สเปรย์ ที่สำคัญคือการดูแลกันด้วยหัวใจ ความรัก ความผูกพัน ด้วยการจัดทำกล่อง “TSU CARE ดูแลกัน” สำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง และผู้ติดเชื้อในพื้นที่ผ่านทางนวัตกรชุมชน ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ และเน้นย้ำเชิงนโยบายกับการสนับสนุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ตามแผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagships) ที่สะท้อนอัตลักษณ์และความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยภายใต้แผนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3. บทส่งท้าย
กล่าวโดยสรุปบทบาทของมหาวิทยาลัยทักษิณในโรคโควิด-19 ดำเนินการและสร้างระบบปฏิบัติการ ในรูปแบบ 1) การถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่สังคมและชุมชน ผ่านการใช้ทุนความรู้ เทคโนโลยี งานวิจัยและนวัตกรรมของคณะ และหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย 2) การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฐานราก 3) การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามและกิจกรรมเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมการป้องกันโรค 4) การต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ และ 5) การสร้างพลเมืองทักษิณสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ผ่านมา
การริเริ่มใหม่ๆ ในอนาคตของมหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการร่วมแก้ปัญหา การสนับสนุนการนำความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม การร่วมสร้างสังคมสู่ความยั่งยืนด้วยพลังปัญญา และการปฏิบัติการด้วยความรู้ สมดังปณิธาน “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” อย่างแท้จริง
Relate topics
- เตือนเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว จ.สงขลา เฝ้าระวังหนอนหัวดำมะพร้าวระบาด**เตือนเกษตรกรชาวสวน
- ชาวบ้านใน จ.สงขลา ยื่นหนังสือร้องทุกข์ เดือนร้อนจากกลิ่นเหม็นโรงงานคัดแยกขยะ**ตัวแทนชาวบ้านจาก 2
- ผลกระทบฤดูฝน! เจ้าของร้านกาแฟริมชายหาดชลาทัศน์ตัดพ้อยอดตกลูกค้าหาย**เจ้าของร้านกาแฟริม
- ตร.ตกใจเจองูเหลือมใกล้บ้านพัก สภ.นาทวี แจ้งทีมอสรพิษวิทยาภาคใต้เข้าช่วยจับด่วน**ตร.ตกใจเจองูเหลือม
- ฝนตกหนักส่งผลกระทบพ่อค้าขายปาท่องโก๋เมืองสงขลา ทำรายได้หาย 30 เปอร์เซ็นต์**ฝนตกฤดูมรสุมตะวันอ
- ระเบิดแคมป์ก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม จ.สงขลา คนงานและเด็กเจ็บ 3 ราย**เกิดเหตุระเบิดขึ้น
- สุดท้ายต้องยอม! จนท.ปิดล้อมจับผู้ต้องหาคดียาเสพติดไม่ยอมง่ายต้องเจรจาเกือบชั่วโมงก่อนมอบตัวโดยดี**เจ้าหน้าที่ชุดช้าง
- รพ.สงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้**ศูนย์ความเป็นเลิศด
- “พิพัฒน์“ กำชับ จนท.ความปลอดภัยร่วมสร้างเกราะป้องกันในสถานประกอบการ มุ่งเป้าลดอันตรายร้ายแรง 1:1000 คน**วันที่ 12 พฤศจิกาย
- สำนวน “ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมือง” กับวลีเด็ด “โจรกระจอก”**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- “พิพัฒน์” ระดมช่างไฟฟ้าซ่อมในอาคารกว่า 100 หลัง สร้างเชียงรายโมเดลช่วยฟื้นฟูหลังน้ำลด**“พิพัฒน์” จ้างงานเ
- รองปลัดกระทรวงแรงงานจัดโปรปลอดดอกเบี้ย อัดฉีดเงินกองทุนให้ สปก. / SME กู้ Upskill แรงงาน 30 ล้านบาท**นายเดชา พฤกษ์พัฒนร
- รมว.แรงงานเผยเริ่ม 1 พ.ย.นี้ ประกันสังคมลงทุนหมื่นล้าน จับมือ ธอส. ปล่อยกู้ให้ผู้ประกันตน**ผู้ใช้แรงงานเฮ! "พ
- ผวา! พบจงอางยักษ์ซุกในกอไผ่ใกล้บ้านแจ้งทีมอสรพิศเข้าจับนำไปปล่อยป่า**ทีมอสรพิษวิทยาภาคใ
- “นิพนธ์” ซัดยุติธรรมไทยล้มเหลว ปล่อยคดีตากใบขาดอายุความ ชี้ไม่สร้างความเชื่อมั่น อย่าหวังแก้ไฟใต้วันนี้ (24 ต.ค.) นาย
- เปิดอาคารทันตกรรมครุอำโพธิ์-คงสุวรรณ ร่วมกิจกรรมรณรงค์ “ชาวสิงหนครฟันดี สดุดีสมเด็จย่า"**นายอภิชาติ สาราบรร
- ฤๅ “คดีตากใบ” ไม่ต่างจากเอาเบนซินไปราดดับไฟใต้?!**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- “พิพัฒน์” หนุนแรงงานอิสระพร้อมมอบเครื่องมือทำกินเพิ่มรายได้ครัวเรือน**“พิพัฒน์” หนุนแรงง
- รมว.แรงงานประกาศจ้างงานเร่งด่วน 400 คน เคลียร์ดินโคลนพื้นที่น้ำท่วม จ.เชียงราย**“พิพัฒน์ รัชกิจประ
- “พิพัฒน์” สั่งตั้งจุดบริการรับซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า-รถมอเตอร์ไซค์ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม**“พิพัฒน์ รัชกิจประ
- ห้วงเวลา “เปลี่ยนแปลงใหญ่” บนแผ่นดินไฟใต้?!**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- รมว.ยุติธรรมสั่งการกรมราชทัณฑ์ เร่งฟื้นฟูช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จ.เชียงใหม่**พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
- “ทวี สอดส่อง” ประชุมติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งหน่วยบริการในระบบต้องโทษ**พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
- กลุ่มสตรีผู้สูงอายุฯ ลงเรียนรู้การทำผีเสื้อผ้าใยบัวและบอนสี สร้างรายได้ให้ครอบครัว**กลุ่มสตรีผู้สูงอาย
- ลงนามรับมอบสิทธิการครอบครองที่ดินให้แก่ราษฏร์หลัง DSI ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาท**DSI ไกล่เกลี่ยข้อพ
- “พิพัฒน์” ยอมรับค่าจ้าง 400 บาทเริ่มไม่ทัน 1 ต.ค.นี้ ขอเห็นใจแรงงานขึ้นค่าแรงตั้งแต่ปี 55**“พิพัฒน์” ยอมรับค่
- “ทวี สอดส่อง” เผยยังมีลูกหนี้ กยศ.เกือบแสน ระบุต้องเร่งการปรับโครงสร้างหนี้**พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
- รมว.ยุติธรรมหนุนจัดแข่งขันชกมวยไทย Real Prison Fight ผู้ต้องราชทัณฑ์กับนักมวยต่างชาติ**พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
- กรมการจัดหางาน ลุยตรวจสอบแรงงานข้ามชาติกว่า 2.5 แสนราย ดำเนินคดีกว่า 1.8 พันคน**กรมการจัดหางาน แจง
- "สรรเพชญ" ชี้แก้รัฐธรรมนูญไม่ตอบโจทย์ปัญหาประชาชน หวั่นเอื้อประโยชน์พวกพ้องนักการเมือง**"สรรเพชญ บุญญามณี"
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดทดสอบครูมวยในแคนาดา ยกระดับมาตรฐานค่ายมวยไทยในต่างประเทศ**อธิบดีกรมพัฒนาฝีมื
- ชาวคลองแงะเดือดร้อนทำถนนกลางเมือง หวั่นต้องปิดร้านขายสินค้าจนเจ๊ง**ชาวบ้านในพื้นที่คล
- กองทัพบกร่วมกับสวนนงนุชพัทยา เนรมิตการจัดสวนภายในวัด-มัสยิดชายแดนภาคใต้**กองทัพบกร่วมกับสวน
- คึกคัก! บุญแรกรับตายาย ทั้งเจ้าเงาะป่าและเปรตรอรับที่วัดโคกศักดิ์**วัดโคกศักดิ์ ต.พัง
- รมว.ยุติธรรมพบสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จชต. หนุนนำศาสนาสร้างพื้นที่สีขาว**รมว.ยุติธรรม พบสมา
- เคียงข้างคนไทยทุกวิกฤต ก.พลังงาน–กฟผ.ร่วมช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จ.เชียงราย**คนไทยไม่ทิ้งกัน กร