ตำนาน “คนใต้วิจารณ์กษัตริย์” : ‘วัดหงส์รัตนาราม’ กับ ‘พระสงฆ์จากกลางนาพัทลุง’
ผู้เขียน : พิเชฐ แสงทอง
ใครๆ ก็ไปบวช #วัดหงส์รัตนาราม ตั้งแต่ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงศ์ และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ส่วนบิ๊กๆ ทางทหารคนอื่นๆ แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรืโอชา ก็เลื่อมใส ขณะที่ พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ก็ทอดกฐิน
วัดนี้แต่โบราณมาสร้างโดยคนจีนชื่อ “หง” จึงได้ชื่อว่า “วัดขรัวหง” มาเปลี่ยนเป็นภาษาบาลี “หงสาราม” (หงส์+อาราม) ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จนสุดท้ายเปลี่ยนเป็นชื่อ “หงส์รัตนาราม” โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
เล่ากันว่าวัดนี้เกี่ยวข้องกับ #พระเจ้าตากสินมหาราช” พระองค์ใช้เป็นสถานที่จัดเตรียมกองกำลังทหาร บางคราวก็ปรับเปลี่ยนเป็นลานฝึกดาบ ในวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ประกอบพิธีกรรมก่อนออกศึกสงคราม
แต่หลายคนไม่รู้ว่า วัดนี้มีประวัติศาสตร์บางช่วงตอนเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่งใน #อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ความเกี่ยวข้องนี้มีเหตุมาจากการที่อดีตเด็กชายบ้านกลางนาคนหนึ่ง จับพลัดจับผลูได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 พระองค์ เด็กชายคนนั้นคือ “เด็กชายสอน ลูกนายศรีแก้วนางปาน” แห่งบ้านกลางนา หรือบ้านสนทรา ตำบลปันแต ในปัจจุบัน
#เด็กชายสอน เกิดในรัชกาลที่ 1 แต่มาเติบโตทางพระในสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 หลังจากบวชเป็นสามเณร ถูกส่งจากวัดวัง จังหวัดพัทลุง ขึ้นไปอยู่ในวัดหงสาราม
เล่ากันว่าท่านเป็นพระบ้านนอกไม่มีสิทธิ์สอบ แต่ได้แสดงความสามารถให้รัชกาลที่ 2 ทรงประจักษ์ ขณะพระเณรที่เรียนในระบบนับสิบนับร้อยทำข้อสอบไม่ได้ พระสอน ซึ่งไม่ได้เข้าชั้นเรียนด้วยซ้ำ กลับทำข้อสอบได้ สอบปากเปล่าได้ 9 ประโยคในวันนั้นวันเดียว จึงเป็นที่ร่ำลือกันมาก
ศักดินาทางพระของท่านก็ขึ้นพรวดพราด กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ท่านจึงเป็นพระอาวุโสชั้นราชาคณะ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ 3 แถมเป็น “เจ้าอาวาสวัดหงสาราม” ซึ่งมีฐานะเป็นวัดหลวง
ในงานพิธีสร้างศาลหลักเมืองสงขลา ท่านก็ได้รับมอบหมายให้ลงมาเป็นผู้แทนพระองค์เป็นประธาน
ช่วงปลายๆ รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระองค์ให้ขุนนางชั้นผู้ใหญ่พระองค์หนึ่งเป็นประธานบูรณะวัดหงสาราม ขุนนางท่านนั้นขอความร่วมมือจากรัชกาลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎหนุ่มแน่น เจ้าฟ้ามงกุฎปฏิเสธ ไม่ยอมร่วมมือบูรณะ หลักฐานบอกว่าท่านถือพระองค์ว่า จะเป็นการเสียพระเกียรติ เพราะวัดหงสารามเป็นวัดเล็ก งานบูรณะจึงตกมาถึงพระปิ่นเกล้าฯ ในที่สุด
เข้าใจว่าเจ้าอาวาสวัดหงสารามตอนนั้นคือ #พระสอน หรือ #พระอุดมปิฎก
การไม่ยอมร่วมมือบูรณะวัดหงสาราม อาจจะมีเหตุหนึ่งที่หลักฐานราชการไม่ได้กล่าวถึง ก็คือวัดนั้นมี #พระอุดมปิฎก เป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากรัชกาลที่ 4 ผนวชนาน ทรงวิพากษ์พระสงฆ์ในมหานิกายว่า มีกิจที่ไม่เรียบร้อยเหมาะสม จึงทรงมีเจตนาที่จะก่อตั้งธรรมยุติกนิกาย
ตำนานชาวสนทรา (บ้านกลางนา) เล่ากันว่า เพราะความคิดเรื่องธรรมยุติที่รัชกาลที่ 4 ทรงดำริตั้งแต่ผนวชนี่เอง ที่ทำให้เกิดความไม่ลงรอยกับพระอุดมปิฎก
ตอนนั้นพระอุดมปิฎกมีสถานะเป็นพระผู้ใหญ่ ใกล้ชิดรัชกาลที่ 3 ถึงขนาดที่ว่าเป็นผู้มีปฏิภาณคิดคำถวายพระพรพระมหากษัตริย์สดๆ (ที่เรียกว่าการถวายอดิเรก) ที่เป็นต้นแบบที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน
เล่ากันว่าเมื่อรู้ว่าจะตั้งธรรมยุติแน่แล้ว พระอุดมปิฎกก็เข้าเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ บอกว่าจะเกิดอาเพศขึ้นในสยามวงศ์ หากพระองค์เห็นว่าพระสงฆ์ผิดวินัย ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องแก้ด้วยการตั้งนิกายใหม่ ปรับปรุงแก้ไขในนิกายเก่าก็ได้
พูดง่ายๆ ว่าขณะที่รัชกาลที่ 4 อยาก #ปฏิวัติวงการสงฆ์ พระอุดมปิฎกกลับเห็นว่า #ปฏิรูป ก่อนดีกว่า
เข้าใจว่าความขัดแย้งนี้อาจจะก่อให้เกิดความไม่สบายพระราชหฤทัยพอสมควร เห็นได้ว่าคุกรุ่นมาตั้งแต่ท่านไม่ยอมร่วมบูรณะวัด จนเมื่อรัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นครองราชย์ พระอุดมปิฎกขณะอายุ 65 ปี ก็อพยพกลับลงมาบ้านกลางนา (สนทรา) ด้วยหวาดกลัว “ราชภัย”
ตอนขนข้าวของลงเรือสำเภากลับมา มีเจ้าเมืองพัทลุงให้การดูแลต้อนรับและอำนวยความสะดวก เรือสำเภาแล่นเข้าจอดหลังวัดไม่ได้ เพราะคลองเล็กมาก ก็ขุดลอกคลองเสียใหม่ให้กว้างขึ้น ปัจจุบันคลองนี้ไม่หลงเหลือรอยแล้ว ยังก็แต่ในความจดจำของชาวบ้านวัย 50 ขึ้นไป
เล่าขานกันอยู่ในหมู่บ้านและชาวจังหวัดพัทลุง โดยชาวบ้านเชื่อยืนยันว่า ข้าวของและร่องรอยของท่านที่วัดสนทรายังมีเหลืออยู่ในพิพิธภัณฑ์ ที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้เปิดให้ใครชม เพราะไม่มีทุนจัดการใดๆ เลย
(ผมเคยเข้าไปดู มีทั้งเตียงตั่ง เครื่องใช้ไม้สอยอื่นๆ ที่เป็นแก่นไม้เก่าแก่ จะถึงยุคที่ท่านขนลงมาจากวัดหงส์รัตนารามหรือไม่ ไม่อาจยืนยัน แต่สันนิษฐานจากความพิเศษและอลังการแล้ว เชื่อว่าร่วมสมัยกับพระอุดมปิฎก ไม่ช่วงชีวิตใดก็ช่วงชีวิตหนึ่ง)
เพราะความขัดแย้งกับรัชกาล 4 นี่เองที่สันนิษฐานว่า เป็นที่มาของการแต่งวรรณกรรม #สุทธิกรรมคำกาพย์ วิพากษ์กษัตริย์โบราณ เป็นแนวเทียบที่ไม่ครองธรรม ตัดสินคดีความโดยไม่รอบคอบ และบอกว่าการมีชีวิตอยู่ใน “แผ่นดิน 2 กษัตริย์” นั้นอันตราย ซึ่งอย่างหลังนั้น ค่อนข้างชัดว่าคือ สถานการณ์การเมืองในยุค รัชกาลที่ 4
พระอุดมปิฎกมรณภาพในสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองพัทลุงทำพิธีศพกลางเมืองพัทลุงอย่างยิ่งใหญ่ มีหมายเหตุอยู่ในพงศาวดารเมืองพัทลุงด้วย
ปัจจุบันท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านสนทราและชาวพัทลุงเป็นอย่างมาก ในฐานะต้นแบบของลูกชาวบ้านที่ดิ้นรนต่อสู้ปีนไต่บันไดทางการศึกษาขึ้นไปประสบความสำเร็จ และ #กล้าวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของพระมหากษัตริย์ เมื่อเห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคม
อย่างไรก็ตาม อนุภาคเรื่องเล่าความขัดแย้งกับรัชกาลที่ 4 นี้ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2520 นักวิชาการท้องถิ่นก็เขียนเล่าใหม่ให้คืนดีกัน โดยเพิ่มเติมว่า เมื่อกลับมาอยู่สนทราได้สักพัก #พระอุดมปิฎก ก็ได้รับนิมนต์จาก #รัชกาลที่4 ให้ขึ้นไปร่วมราชพิธีที่กรุงเทพฯ ก่อนพิธีเริ่มพระองค์ก็มีพระราชปฏิสันถารกับพระอุดมปิฎก (ซึ่งนั่งอยู่ปลายแถวสุด-เพราะเป็นพระบ้านนอก-นักวิชาการท้องถิ่นอธิบาย) และขอให้ท่านอวยพร
#อนุภาคคืนดี นี้ไม่เพียงแต่ทำให้ #อนุภาคความขัดแย้ง กับกษัตริย์จบลงเท่านั้น แต่ยังทำให้การสวดถวายอดิเรกที่ชาวบ้านเล่ากันว่าเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ตามตำนานเดิม ย้ายมาเกิดขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 ด้วย
ตำนานของนักวิชาการท้องถิ่น จึงเป็นตำนานสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปโดยแท้
#TheAgendaSouth #คนใต้วิจารณ์กษัตริย์ #วัดหงส์รัตนาราม #พระอุดมปิฎก
Relate topics
- ช่างภาพโลกเลือก “ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย” เมืองเก่าสงขลา จัดนิทรรศการหนังเงาชาติอาเซียน**“ศิลปินช่างภาพระดั
- รพ.สงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้**ศูนย์ความเป็นเลิศด
- เปิดเบื้องลึกจับ “แป้ง นาโหนด” ขยายผลคดีเรียกค่าไถ่ 3 หนุ่มอินโดนีเซียที่พัทลุง**ตำรวจอินโดฯ ขยายผล
- เปิดโปงผลประโยชน์เว็บพนันออนไลน์ จาก “มินนี่” สู่เจ๊แหม่มและเสี่ย อ.อ่าง 'หัวเบี้ยมือเก็บส่วย' ที่โด่งดังในวงการตำรวจภาคใต้โดย.. **เมือง ไม้ขม*
- โฆษกพรรคประชาชาติ ชี้แจงเหตุมีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ**สส.กมลศักดิ์ ลีวาเ
- “เศรษฐา” จ่อมอบ “ทวี” รับภารกิจดับไฟใต้ ปรับทิศทาง ศอ.บต.**หากนับเฉพาะสายงานค
- หนังตะลุงและมโนราห์ ลิเกป่าและเพลงบอก คือศิลปะวัฒนธรรม ที่ถือเป็นการละเล่นในท้องถิ่น**โดย.. ไชยยงค์ มณีร
- สำรวจ 4 ปัจจัย “วันนอร์” ล้างอาถรรพ์พิชิตเขต 1 ยะลา นำ “ประชาชาติ” คว้า ส.ส.ยกจังหวัดเป็นครั้งแรกโดย.. เมือง ไม้ขม
- โค้งสุดท้ายสงขลาเขต 9 เดือดปุด “พิพัฒน์” เข็น ‘ยีชาย’ ชน ‘สิงโต’ ลูกรัก”นายกชาย”**โค้งสุดท้ายการเลือ
- ศึกเลือกตั้ง “สงขลา เขต 1” โค้งสุดท้าย “สรรเพชญ” ประชาธิปัตย์ คะแนนยังนำ “เจือ ราชสีห์”**โค้งสุดท้ายเลือกตั
- “ไพร พัฒโน” เขตเลือกตั้งที่ 3 อีกหนึ่งความหวังของ ‘ภูมิใจไทย’ ในการได้ ส.ส.เพิ่มที่ จ.สงขลา**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- ปี่กลองเลือกตั้งดังก้องต้องรีบล้าง “อิทธิพลมืด” ฮุบที่ดินสวนยางที่สุราษฎร์ฯ**รายงานโดย : ศูนย์ข
- จับตาเขตเลือกตั้งที่ 4 สงขลา “พลังประชารัฐ” มาช้า แต่มาแรง”แซงทางโค้ง”โดย.. เมือง ไม้ขม
- แม้มีเพียง 5 ที่นั่ง แต่ “นราธิวาส” ก็นับเป็นสนามเลือกตั้งที่ดุเดือดที่สุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้**โดย… ไชยยงค์ มณีรุ
- สนามเลือกตั้ง “ปัตตานี” แข่งดุ “ประชาธิปัตย์-ประชาชาติ–ภูมิใจไทย” ใครจะเข้าวินโดย.. **ไชยยงค์ มณีร
- “พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา” นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด จ่าเพียรขาเหล็ก12 มี.ค.2553 พ.ต.อ.ส
- คนรักสัตว์ทั่วโลกร่วมกันช่วยเหลือแพนด้ายักษ์ Yaya เรียกร้องให้ส่งกลับจีน**นี่คือภาพโปสเตอร์ท
- ผ่าสนามเลือกตั้งเมืองตรัง “ประชาธิปัตย์” มั่นใจจะกู้ศักดิ์ศรีบ้านเกิด “นายหัวชวน” ให้กลับคืนมาได้โดย.. **ไชยยงค์ มณีร
- “เพื่อไทย” ไม่หวั่น! ส่ง “นายตำรวจหนุ่ม-นักธุรกิจสาว” ลงสู้ศึกใน จ.สงขลาทุกเขต จับตาม 3 เขตมีลุ้น**โดย.. ศูนย์ข่าวหาด
- “นายกชาย” แม่ทัพ ปชป.ภาคใต้ มั่นใจกวาด ส.ส.ใต้มากกว่าที่ตั้งเป้า ‘ตรัง-พัทลุง’ ขอยกจังหวัด**โดย.. ศูนย์ข่าวหาด
- เสียงตอบรับนโยบาย “สันติภาพสู่สันติสุข” ของ ‘ประชาธิปัตย์’ ประชาชนเห็นด้วย-ร่วมผลักดันเพื่อการแก้ปัญหาความไม่สงบอย่างยั่งยืน**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- ปวดหลัง-ตึงเอว “โรคกระดูก” ยอดนิยมอันดับ 1**นพ.สุนทร ศรีสุวรรณ
- เราเดินอยู่บนถนนใหญ่**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- เผยเส้นทาง”น้ำมันเถื่อน”และ”ส่วย”ที่ 'เสี่ยย.ยักษ์' ใช้ในเส้นทางจากสงขลา-สระบุรี และปาหี่ในการจับรถบรรทุก 6 คันที่ผ่านมา**รายงานพิเศษ ไชยยง
- เมื่อเกิดข้อกังขาว่า "มีธง" ทำเอสเออี 'นิคมจะนะ' รักษาการนายกฯ จะจัดการปัญหานี้อย่างไร**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- 21 ชั่วโมงที่เบตง... รับฟัง เข้าถึง เข้าใจ “ทวี” คนของประชาชน**“พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
- ม.ราชภัฏสงขลารวมภาคีเครือข่ายพัฒนาท้องถิ่น 7 ชุมชนต้นแบบ 7 คณะโดย.. **เกษม ลิมะพัน
- พฤษภาทมิฬ 2535โดย.. **เกษม ลิมะพัน
- Amazean Jungle Trail By UTMB ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ พลิกฟื้นเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ชายแดนใต้หลังค่ำคืน วันที่ 7
- จินตกรรมไม่แหว่ง / บทกวีโดย “ปิยะโชติ อินทรนิวาส”ขี้หูลั่นสั่นไหวให้อ
- บาดแผลของแผ่นดิน(สงขลา) / บทกวีโดย “เลิศชาย”บนเส้นทางไกลสุดมนุษย
- จากอดีตเมือง “ซิงกอรา” สู่ปัจจุบัน “วันสงขลา” 10 มีนาคมของทุกปีช่วงปลายเดือนกุมภาพั
- “หนังสือพิมพ์” เปรียบเสมือน “กระจก-ตะเกียง” แม้เข้าสู่ยุคดิจิทัล แต่ยังคงมีความสำคัญ“วันนักข่าว” หรื
- ศอ.บต.ยันสภาพัฒน์อยู่ระหว่างดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ขับเคลื่อน “เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต”ในที่ประชุมคณะกรรมกา
- โค้งสุดท้าย! เลือกตั้งซ่อมเขต 6 สงขลา ที่แพ้ไม่ได้ของ “ประชาธิปัตย์” และ “นายกชาย”**มีการกล่าวกันว่า..
- เลือกซ่อมระอุ! 3 พรรคประกาศชิงเก้าอี้ ส.ส.สงขลาเขต 6 "ผู้การชาติ" หวังปักธงให้พรรคกล้า**เลือกตั้งซ่อม ส.ส.