ม.ทักษิณโมเดล : มหาวิทยาลัยกับสังคมในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19
โดย...รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ในท่ามกลางการระบาดและการเผชิญหน้ากับปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นั้น “มหาวิทยาลัยทักษิณ” ได้แสดงบทบาททางสังคมโดยใช้ทรัพยากร เทคโนโลยี องค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไข และบรรเทาความรุนแรงผลกระทบที่เกิดขึ้น การส่งเสริมสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม การร่วมสร้างสังคมวิถีใหม่ รวมถึงการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองในเชิงสถาบันที่ใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นอย่างหลากหลาย ด้วยฐานคิดสร้างนวัตกรรมสังคมให้สามารถตอบสนองต่อปัญหา สถานการณ์ และการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยพันธกิจ
ด้วยการระดมสรรพกำลังของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย การสร้างพื้นที่กลางเชื่อมร้อยภายใน การประสานความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของภาคี หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม รวมทั้ง “เสียงสะท้อน ความต้องการของพื้นที่” และการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ เชื่อมโยง ทั้งในมิติ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและจิตใจ
ช่วยเหลือเยียวยานิสิต
มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเยียวยานิสิต ด้วยนโยบายและการช่วยเหลือรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำประกันชีวิตโควิด-19 ให้แก่นิสิตและบุคลากร จัดสรรทุนการศึกษา การจ้างงานนิสิตที่ได้รับผลกระทบ ปรับลดค่าธรรมเนียมการศึกษา สนับสนุนค่าอินเตอร์เน็ต การขยายเวลาการชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา คืนเงินค่าบำรุงหอพักนิสิต การให้คำปรึกษาการปรับตัวสำหรับการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 เป็นต้น
ถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยสนับสนุน ช่วยเหลือ เยียวยานิสิตด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 104,834,526.50 บาท ขณะเดียวกันได้เตรียมการโครงการ TSU Sandbox รองรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผสมผสานออนไซต์ (Onsite) ในภาคเรียนที่ 2/2564 ที่จะถึงนี้
การถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่สังคมและชุมชน
การระบาดของโควิด-19 นับแต่ระลอกแรกเป็นต้นมา มหาวิทยาลัยได้กำหนดในเชิงนโยบายให้คณะและส่วนงานปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีพร้อมใช้สู่ชุมชน/สังคมตามยริบทอย่างหลากหลาย เช่น คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพผลิตเจลล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลแจกจ่ายให้แก่ประชาชน หน่วยงานรัฐและเอกชน เปิดให้บริการ “หน่วยพัฒนาการแปรรูปและนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตร (Inno Agro Industry and Processing Development Unit)” คณะวิศวกรรมศาสตร์คิดค้นนวัตกรรมกรีนซิลเวอร์นาโนเคลือบหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการต่อต้านเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส พร้อมใช้พ่นหน้ากากอนามัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรค การออกแบบและสร้างเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์อัตโนมัติ (TSU Automatic Alcohol Gel Dispenser)
คณะวิทยาสุขภาพและการกีฬาและคณะพยาบาลศาสตร์ พัฒนารูปแบบการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ “โปรแกรมไอ้เท่ง” คณะนิติศาสตร์จัดตั้งศูนย์นิติศาสตร์ชุมชนในการให้คำปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น การถูกเลิกจ้าง/ให้ออกจากงานกะทันหันการลดค่าตอบแทน หรือแม้แต่การไปทำงานไม่ได้เนื่องจากการประกาศ พ.ร.ก. คณะศิลปกรรมศาสตร์ใช้แนวคิดและเครื่องมือทางศิลปะและวัฒนธรรมเป็นช่องทางสื่อสารสู่สังคม โดยร่วมกันผลิตเพลง “กำลังใจต่อกัน (หัวใจข้ามฝ่า)” และเพลง “ใจหนึ่งเดียว” คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดทำโครงการบันทึกประวัติศาสตร์โควิด-19 สำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน (สสช.) จัดทำโครงการบริการความรู้สู้โควิด-19 ด้วยภูมิปัญญาใต้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้บูรณาการความรู้ข้ามส่วนงานเพื่อถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมสังคม เช่น ผลิตทอล์กโชว์หนังตะลุงรณรงค์ป้องกันโควิด-19 ร่วมกับคณะ เพลงเรือแหลมโพธิ์ ผลิตเพลงรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดและสร้างความตระหนักให้กับประชาชน ชุมชนด้วยวัฒนธรรม การจัดเสวนาออนไลน์ COVID PANIC DISORDER ปรับตัวอย่างไรไม่ตระหนก? ขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมสู้ภัย COVID-19 (TSU Social Innovation Driven to Fight Against COVID-19 โดยร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ สำนักส่งเสริมการบริการการวิชาการฯ และสถาบันวิจัยและพัฒนา
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฐานราก
มหาวิทยาลัยทักษิณได้จัดทำโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมฐานรากที่เชื่อมโยงกับการจ้างงานระยะสั้น ระยะกลาง การพัฒนาทักษะสำหรับการประกอบการใหม่ (Reskill Upskill) และการพัฒนาชุมชน สังคมฐานราก ไม่ว่าจะเป็นโครงการ “อาสาสมัครชุมชน” สู้ภัยโควิด มหาวิทยาลัยทักษิณ จากงบประมาณของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จำนวนกว่า 39 ล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาทักษะในการทำงานในด้านต่างๆ ให้แก่แรงงานใน 166 ตำบลของจังหวัดสงขลา พัทลุงและนครศรีธรรมราช
โครงการ “นวัตกรชุมชน” มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นโครงการภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (TSU-2T) โดยงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จำนวน 212 ล้านบาท โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษาให้มีงานทำจำนวน 1,300 อัตรา รวม 11 เดือน เพื่อทำหน้าร่วมกับชุมชนในการปัญหาความต้องการ เช่น การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับการท่องเที่ยว การนำองค์ความรู้บริการชุมชน การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ชุมชนท้องถิ่น
โครงการสุดยอดแนวคิดนวัตกรรมใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก หรือโครงการแฮกกาธอน (Hackathon) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เครือข่ายมหาวิทยาลัยในภาคใต้ตอนล่าง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงานทั้งประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษาระดมความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณโครงการนวัตกรรมใหม่เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โครงการหลาวัฒนธรรมเพ่อการฟื้นฟูสังคมด้วยวัฒนธรรมและศิลปะพื้นบ้าน โครงการ TSU2T on Tour 65 Days 65 Local Community Camping and Cycling Campaign สนับสนุนการทำตลาดออนไลน์และเรื่องเล่าชุมชนเพื่อการประกอบการฐานราก
โรงพยาบาลสนาม-สนามของการแบ่งปัน
มหาวิทยาลัยทักษิณหน่วยปฏิบัติการ อว.ส่วนหน้า พัทลุง ได้ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรภาคีทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดพัทลุงเปิดโรงพยาบาลสนามในลักษณะ Hospitel โดยใช้อาคารที่พักและประชุมสัมมนาของสำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง พื้นที่ขยายพนางตุง มาตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา 2,059 คน พร้อมๆ กันนี้มหาวิทยาลัยยังได้เปิดรับบริจาคเพื่อสมทบทุนผลิตสเปรย์และเจลแอลกอฮอล์สมุนไพรแจกจ่ายประชาชน
นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับองค์กรหน่วยงานในพื้นที่ในระดับจังหวัดและหน่วยงานท้องถิ่น ในการรณรงค์ เผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการป้องกันตนเอง การแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) การจัดตั้งชุมชนเกื้อกูล (Community Isolation) เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อที่รอการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล การสกัดกั้นการระบาดลุกลามของเชื้อโรคในระดับครัวเรือน/ชุมชน/หมู่บ้าน อันเป็นการแบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์ การบรรเทาการรักษาผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง การร่วมกับไลฟเฮ้าส์คลินิกเวชกรรม (GOCHECK) ภายใต้ข้อตกลงของ สปสช.บริการตรวจโควิด-19 เชิงรุก ด้วย Rapid Antigen Test หรือ Antigen Test Kid (ATK) แก่ประชาชนและนิสิต ด้วยการบริการตรวจโดยไม่คิดมูลค่า
การต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์
มหาวิทยาลัยได้นำผลงานวิจัยและอนุสิทธิบัตรนวัตกรรมกรีนซิลเวอร์นาโนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เคลือบซิลเวอร์นาโน TSU NanoMask ที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้าน และลดการติดเชื้อโรคจากแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส ส่วนของ TSU Herbal Alcohol เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผสมผสานสมุนไพรภูมิปัญญาท้องถิ่นกับองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเลือกใช้ว่านหางจระเข้ และ น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้และมะกรูดเพิ่มกลิ่นหอมของผลิตภัณฑ์ ช่วยผ่อนคลายแก่ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ TSU Herbal Alcohol Spray ใช้กรรมวิธีการผลิตมาตรฐาน Primary GMP พกพาง่าย ใช้สะดวก ช่วยลดปริมาณเชื้อโรค สร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน การผลิตเครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติ “TSU Automatic Alcohol Gel Dispenser” ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากงานวิจัยตอบโจทย์การใช้งานด้วยขนาดกะทัดรัด ใช้ได้ทั้งระบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ลดปัญหาเจลไม่ออกและความเสี่ยงจากการสัมผัส
การสร้างพลเมืองมหาวิทยาลัยสนับสนุนการแก้ปัญหาสังคม
มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นพลเมืองที่เรียกว่า “พลเมืองทักษิณ” ด้วยการส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิต เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือประชาชน ตามศักยภาพ โอกาสที่เอื้ออำนวย ด้วยการบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาล อาหารและของใช้จำเป็นสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ ในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย ใกล้เคียง หรือชุมชนที่ถูกล็อกดาวน์ การรับบริจาคเพื่อผลิตเจล สเปรย์แอลกอฮอล์ สำหรับแจกจ่ายประชาชน การจัดทำโครงการ “อาสาสมัครระยะไกลสู้ภัยโควิด-19” (TSU Distance Volunteers) ชวนบุคลากรเป็นอาสาสมัครบรรจุสเปรย์แอลกอฮอล์มิติใหม่ (TSU Alcohol Spray) แจกจ่ายประชาชน โดยรับไปทำที่บ้าน นับว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นทั้งช่วยป้องกันโรค และสุขใจไปกับการแบ่งปันช่วยเหลือสังคมควบคู่กับการปฏิบัติตนตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม
มหาวิทยาลัยยังได้จัดทำแคมเปญ (Campaign) “TSU CARE ดูแลกัน” อันเป็นการดูแล แบ่งปันด้วยข้อมูล ความรู้ทางวิชาการ การรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดูแลกันด้วยภูมิปัญญาสมุนไพร หน้ากากอนามัย สเปรย์ ที่สำคัญคือการดูแลกันด้วยหัวใจ ความรัก ความผูกพัน ด้วยการจัดทำกล่อง “TSU CARE ดูแลกัน” สำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อในพื้นที่
นอกจากนี้ยังได้จัดรณรงค์ฉีดวัคซีนด้วยแคมเปญ “ฉีดกันตะ..ได้มาหนุกกันหลาว (Get the Vaccine to Save Lives)” ด้วยการจัดขบวนรถ Mobile Unit รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในกิจกรรม U2T - COVID WEEK “ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด” ที่กระทรวง อว.ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนในพื้นที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างทั่วถึง
บทบาทที่ต่อเนื่องกับปฏิบัติการก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19
มหาวิทยาลัยจะยังสร้างระบบปฏิบัติการสนับสนุนการก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ต่อเนื่องต่อไปด้วยวัตกรรมสังคมในรูปแบบดังข้างต้น แต่จะเพิ่มเติม ริเริ่มกิจกรรมใหม่ในมิติและแง่มุมนวัตกรรมสังคมร่วมกับภาคีภาครัฐและประชาสังคมในพื้นที่ที่เข้มข้นเพื่อการพัฒนา ฟื้นฟูสุขภาพชุมชน สังคม การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เช่น การสร้างความรู้ความเข้าใจการป้องกัน รักษาโรคในรูปแบบการจัดการตนเองระดับครัวเรือนและชุมชน Community Isolation การรักษาโรคทางเลือกด้วยภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่น โดยร่วมมือกับเครือข่ายแพทย์พื้นบ้าน เผยแพร่ความรู้และการสร้างพื้นที่ปฏิบัติการสาธิตการผลิตและการแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน การร่วมมือกับกลุ่ม องค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำพื้นที่ปฏิบัติการและศูนย์สาธิตระดับชุมชน อันจะเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกัน รักษาโรคและการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ให้มีขีดความสามารถในการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนในสังคมวิถีใหม่ (New Normal) ในประเด็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพตามธงนำ (Flagships) ในแผนวิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม
การริเริ่มโครงการวิจัยขนาดใหญ่ก่อผลกระทบในวงกว้าง (Big Rock) ตอบโจทย์ ความต้องการและการพัฒนาพื้นที่ เช่น โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ การจัดทำแผนเมืองสมุนไพรแบบครบวงจรในจังหวัดพัทลุง การนำความรู้ นวัตกรรมบริการสังคมแบบมีส่วนร่วม การรับฟังเสียงจากสังคม-ชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการร่วมแก้ปัญหาและการร่วมสร้างสังคมวิถีใหม่ด้วยวิธีคิดใหม่ที่ยั่งยืน
Relate topics
- รพ.สงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้**ศูนย์ความเป็นเลิศด
- เปิดเบื้องลึกจับ “แป้ง นาโหนด” ขยายผลคดีเรียกค่าไถ่ 3 หนุ่มอินโดนีเซียที่พัทลุง**ตำรวจอินโดฯ ขยายผล
- เปิดโปงผลประโยชน์เว็บพนันออนไลน์ จาก “มินนี่” สู่เจ๊แหม่มและเสี่ย อ.อ่าง 'หัวเบี้ยมือเก็บส่วย' ที่โด่งดังในวงการตำรวจภาคใต้โดย.. **เมือง ไม้ขม*
- โฆษกพรรคประชาชาติ ชี้แจงเหตุมีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ**สส.กมลศักดิ์ ลีวาเ
- “เศรษฐา” จ่อมอบ “ทวี” รับภารกิจดับไฟใต้ ปรับทิศทาง ศอ.บต.**หากนับเฉพาะสายงานค
- สำรวจ 4 ปัจจัย “วันนอร์” ล้างอาถรรพ์พิชิตเขต 1 ยะลา นำ “ประชาชาติ” คว้า ส.ส.ยกจังหวัดเป็นครั้งแรกโดย.. เมือง ไม้ขม
- โค้งสุดท้ายสงขลาเขต 9 เดือดปุด “พิพัฒน์” เข็น ‘ยีชาย’ ชน ‘สิงโต’ ลูกรัก”นายกชาย”**โค้งสุดท้ายการเลือ
- ศึกเลือกตั้ง “สงขลา เขต 1” โค้งสุดท้าย “สรรเพชญ” ประชาธิปัตย์ คะแนนยังนำ “เจือ ราชสีห์”**โค้งสุดท้ายเลือกตั
- “ไพร พัฒโน” เขตเลือกตั้งที่ 3 อีกหนึ่งความหวังของ ‘ภูมิใจไทย’ ในการได้ ส.ส.เพิ่มที่ จ.สงขลา**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- ปี่กลองเลือกตั้งดังก้องต้องรีบล้าง “อิทธิพลมืด” ฮุบที่ดินสวนยางที่สุราษฎร์ฯ**รายงานโดย : ศูนย์ข
- จับตาเขตเลือกตั้งที่ 4 สงขลา “พลังประชารัฐ” มาช้า แต่มาแรง”แซงทางโค้ง”โดย.. เมือง ไม้ขม
- แม้มีเพียง 5 ที่นั่ง แต่ “นราธิวาส” ก็นับเป็นสนามเลือกตั้งที่ดุเดือดที่สุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้**โดย… ไชยยงค์ มณีรุ
- สนามเลือกตั้ง “ปัตตานี” แข่งดุ “ประชาธิปัตย์-ประชาชาติ–ภูมิใจไทย” ใครจะเข้าวินโดย.. **ไชยยงค์ มณีร
- คนรักสัตว์ทั่วโลกร่วมกันช่วยเหลือแพนด้ายักษ์ Yaya เรียกร้องให้ส่งกลับจีน**นี่คือภาพโปสเตอร์ท
- ผ่าสนามเลือกตั้งเมืองตรัง “ประชาธิปัตย์” มั่นใจจะกู้ศักดิ์ศรีบ้านเกิด “นายหัวชวน” ให้กลับคืนมาได้โดย.. **ไชยยงค์ มณีร
- “เพื่อไทย” ไม่หวั่น! ส่ง “นายตำรวจหนุ่ม-นักธุรกิจสาว” ลงสู้ศึกใน จ.สงขลาทุกเขต จับตาม 3 เขตมีลุ้น**โดย.. ศูนย์ข่าวหาด
- “นายกชาย” แม่ทัพ ปชป.ภาคใต้ มั่นใจกวาด ส.ส.ใต้มากกว่าที่ตั้งเป้า ‘ตรัง-พัทลุง’ ขอยกจังหวัด**โดย.. ศูนย์ข่าวหาด
- เสียงตอบรับนโยบาย “สันติภาพสู่สันติสุข” ของ ‘ประชาธิปัตย์’ ประชาชนเห็นด้วย-ร่วมผลักดันเพื่อการแก้ปัญหาความไม่สงบอย่างยั่งยืน**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- ปวดหลัง-ตึงเอว “โรคกระดูก” ยอดนิยมอันดับ 1**นพ.สุนทร ศรีสุวรรณ
- เราเดินอยู่บนถนนใหญ่**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- เผยเส้นทาง”น้ำมันเถื่อน”และ”ส่วย”ที่ 'เสี่ยย.ยักษ์' ใช้ในเส้นทางจากสงขลา-สระบุรี และปาหี่ในการจับรถบรรทุก 6 คันที่ผ่านมา**รายงานพิเศษ ไชยยง
- เมื่อเกิดข้อกังขาว่า "มีธง" ทำเอสเออี 'นิคมจะนะ' รักษาการนายกฯ จะจัดการปัญหานี้อย่างไร**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- 21 ชั่วโมงที่เบตง... รับฟัง เข้าถึง เข้าใจ “ทวี” คนของประชาชน**“พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
- ม.ราชภัฏสงขลารวมภาคีเครือข่ายพัฒนาท้องถิ่น 7 ชุมชนต้นแบบ 7 คณะโดย.. **เกษม ลิมะพัน
- พฤษภาทมิฬ 2535โดย.. **เกษม ลิมะพัน
- Amazean Jungle Trail By UTMB ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ พลิกฟื้นเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ชายแดนใต้หลังค่ำคืน วันที่ 7
- “หนังสือพิมพ์” เปรียบเสมือน “กระจก-ตะเกียง” แม้เข้าสู่ยุคดิจิทัล แต่ยังคงมีความสำคัญ“วันนักข่าว” หรื
- ศอ.บต.ยันสภาพัฒน์อยู่ระหว่างดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ขับเคลื่อน “เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต”ในที่ประชุมคณะกรรมกา
- โค้งสุดท้าย! เลือกตั้งซ่อมเขต 6 สงขลา ที่แพ้ไม่ได้ของ “ประชาธิปัตย์” และ “นายกชาย”**มีการกล่าวกันว่า..
- เลือกซ่อมระอุ! 3 พรรคประกาศชิงเก้าอี้ ส.ส.สงขลาเขต 6 "ผู้การชาติ" หวังปักธงให้พรรคกล้า**เลือกตั้งซ่อม ส.ส.
- เลขาธิการ ส.ป.ก.-รมว.พม.ร่วมงานวันที่อยู่อาศัยโลกที่กระบี่-พังงา พอช.ต่อยอดเดินหน้าแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยชุมชน 6 จังหวัดอันดามันตามที่สถาบันพัฒนาองค
- เงื่อนงำชวนสงสัย?! ของโจร "รังนกเมืองลุง" หลายร้อยกิโลฯ หายไปไหน**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- ผู้ประกอบการสินค้าเถื่อนชายแดนใต้โอดโอยถูกเรียก “ค่ารายการ” เพิ่มจาก 2 เป็น 6 แสน/เดือน**โดย... เมือง ไม้ขม
- "ปูทะเล" อีกหนึ่งอาชีพเสริมที่ ศอ.บต.หนุนให้ประชาชนนอกเหนือจากการทำประมง**ศอ.บต. ส่งเสริมการ
- พลิกโฉมการพัฒนาชายแดนใต้ให้พ้นความยากจน ดึง 'ปราชญ์ชาวบ้าน' เสนองานวิจัยกำหนดแนวทาง**โดย.. เมือง ไม้ขม*
- บทบาทของ ‘ม.ทักษิณ’ ในสถานการณ์โรคระบาด และการก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19**โดย... รศ.ดร.ณฐพงศ