The Agenda South

เล่าเรื่องประชาธิปไตยคนจน-ธนาคารแพะหวะแก้จน (2)

by sorawit @22 พ.ย. 2566 14:22 ( IP : 202...218 ) | Tags : ทัศนะ - สนทนา
photo  , 1080x1080 pixel , 174,618 bytes.

ทัศนะ โดย.. รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
แม้ผ่านมาร่วมสามทศวรรษ บทนำในวรรณกรรมชิ้นเอกอุแห่งศตวรรษที่ 20 ของ John Steinbeck ผลพวงแห่งความคับแค้น หรือ “The Grapes of wrath”  ยังก้องกังวาน

“ฉันเรียนรู้สิ่งดีงามได้อย่างหนึ่ง เรียนรู้มาตลอดเวลาว่า ถ้าได้รับความเดือนร้อน ได้รับบาดเจ็บ หรือมีความจำเป็น จงไปหาคนจน คนพวกนี้เท่านั้นที่จะช่วย-มีแต่พวกนี้เท่านั้นที่จะช่วยเหลือ”

มีแต่คนคนจนเท่านั้น ที่จะเข้าใจคนจนและความจน

“ต้องกำจัดความจน ไม่ใช่คนจน” สำนวนคุ้นหูจาก มรว.อคิน รพีพัฒน์ ครูคนหนึ่งของข้าพจ้า มีแต่คนจนเท่านั้น ที่จะเข้าใจคนจน -ด้วยนวัตกรรรม

นวัตกรรมอาจไม่ใช่แค่ประดิษฐ์ สร้างใหม่เท่านั้น  ยังหมายรวมถึงการคิดใหม่ ทำใหม่ ขยายผล ต่อยอด เรียนรู้ ลองผิดลองถูก ค้นคว้า เกิดกลายเป็นความรู้ วิชา เป็นปัญญา ที่รังสรรค์ เป็นนวัตกรรมสังคมที่พร้อมถ่ายทอด ทำให้เกิดการยอมรับ

นวัตกรรมในแนวราบ-จากเพื่อนสู่เพื่อน พื้นที่สู่พื้นที่ ตัดข้ามข้ามพื้นที่ ปริมณฑล - ด้วยมิตรภาพ ถักทอ ต่อสานสายใย ยาไส้ ยาใจ ในย่านโยด ด้วยมือบนที่ใจดี เข้าใจ-ความจน...วช. บพท.

จากจุดเล็กๆ ในท้องถิ่น ธนาคารแพะเนื้อแบบเลี้ยงหวะ ได้วิวัฒน์ พัฒนาเป็นโมเดลต้นแบบสู่กลุ่มคนเปราะบางและกลุ่มคนจนที่อื่นๆ ในชื่อต่างๆ เช่น กลุ่มเลี้ยงแพะปาเวาะฮฺ (อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส) กลุ่มเลี้ยงแพะฮาดีหย๊ะ (อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง) กลุ่มเลี้ยงแพะปันปัน (อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง) ซึ่งคำว่า “ปาเวาะฮฺ” “ฮาดีหย๊ะ” และ “ปันปัน” ล้วนแล้วแต่มีความหมายเดียวกันกับคำว่า “หวะ” หรือ “การแบ่งส่วน” เกิดการขยายผลต่อไปอีกกับการเลี้ยงแกะ กลายเป็นเครือข่ายการเลี้ยงแพะ-แกะ แบบพหุวัฒนธรรม โดยได้แรงหนุนเสริมงบประมาณจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีสมาชิก จำนวน 280 ครัวเรือน (พัทลุง 250 ครัวเรือน นราธิวาส 30 ครัวเรือน)

จากข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว หัวหน้าโครงการวิจัยฯ พบว่าการเลี้ยงแพะแบบหวะสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกโดยเฉลี่ย 14.72% ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากการตัดยางหวะ  16.30% ต่อปี จากฐานคิด น้ำยางพารา 1 ไร่ เฉลี่ย 6.5 กก. ราคาเฉลี่ย 30 บาท/กก. รวม 195 บาท/วัน/ไร่ ถ้าแบ่งครึ่ง 50:50 จะได้รายได้จากการรับจ้างกรีดยางเฉลี่ย 97.5 บาท/วัน/ไร่  โดยเฉลี่ย 1 ครัวเรือน (2-3 คน) กรีดยาง 10 ไร่ จะได้รายได้ต่อวันเฉลี่ย 975 บาท (ภาคใต้กรีดยางได้เฉลี่ย 120 วัน) รายได้ต่อปี 117,000 บาท รายได้เฉลี่ย ในการรับจ้างกรีดยาง 39,000 บาท/คน/ปี

ส่วนรายได้จากการเลี้ยงแพะหวะ ฐานคิดมาจากสมาชิกลงหุ้น 3,600 บาท ซื้อแพะอายุ 11 เดือน (1 ตัว น้ำหนักตัว 30 กก.ๆ ละ 120 บาท ราคา  3,600 บาท) เลี้ยงขุน 1 เดือน น้ำหนัก 35 กก. ขาย กก.ๆละ 120 บาท ได้รายได้ 4,200 บาท ต้นทุนเฉลี่ย 70 บาท/ตัว/เดือน จะได้กำไร 530 บาท (4,200-3,600-70) (เงินทุน 3,600 บาท ยังคงอยู่) รายได้จากการเลี้ยงแพะแบบหวะ ฐานคิดมาจาก สมาชิกลงหุ้น 3,600 บาท ซื้อแพะอายุ 11 เดือน (1 ตัว น้ำหนักตัว 30 กก.ๆ ละ 120 บาท ราคา  3,600 บาท) เลี้ยงขุด 1 เดือน น้ำหนัก 35 กก. ขาย กก.ๆละ 120 บาท ได้รายได้ 4,200 บาท ต้นทุนเฉลี่ย 70 บาท/ตัว/เดือน จะได้กำไร 530 บาท (4,200-3,600-70) (เงินทุน 3,600 บาท ยังคงอยู่)

ความต่อเนื่องเชิงบวกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น เช่น สมาชิกได้เงินปันผลทำให้มีเงินหมุนเวียนในครัวเรือน เกิดสภาพคล่องในการจ่ายหนี้กองทุนหมู่บ้าน และสามารถปลดหนี้นอกระบบได้ทั้งหมด ดังกรณีของ “อัตจิมา เกษตรกาลาม์” ที่ได้นำความรู้จากการดำเนินโครงการธนาคารแพะเนื้อแบบเลี้ยงหวะ  และหันมาเลี้ยงแพะหวะการลงหุ้นของเครือญาติ ทำให้ปลดหนี้นอกระบบได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 1 ปี นอกจากนั้นยังช่วยเหลือให้เพื่อนบ้านยืมเงินยามที่ขัดสน

มูลค่าจากความแปลกใหม่ ? ให้คุณค่า ประชาธิปไตย ?

เกิดการเปลี่ยนแปลงทุนดำรงชีพ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติในการดำเนินอาชีพแบบกลุ่มร่วมกัน สมาชิกกลุ่มมีทักษะส่วนที่จับต้องไม่ได้ของปัจเจกบุคคล เช่น ทักษะการเป็นผู้นำ ทักษะการเป็นสมาชิก ทักษะการยอมรับความคิดเห็นส่วนใหญ่ ทักษะการแสดงออกทางทัศนคติและความคิด ทักษะอาชีพ เช่น ทักษะการเลี้ยงแพะ ทักษะการดูแลสุขภาพแพะ ทักษะการจัดการอาหารแพะ ทุนทางสังคมเกิดการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายใหม่จากการเลี้ยงแพะหวะ โดยการมีส่วนร่วมในการบริหารงานแบบมีโครงสร้าง การวางบทบาทหน้าที่ การมีกฎกติกาและระเบียบของกลุ่ม การสร้างกิจกรรมและผลประโยชน์ของกลุ่ม และสร้างเครื่องมือในการประกอบอาชีพของกลุ่ม ประกอบด้วย โรงเรือนเลี้ยงแพะของกลุ่ม บัญชีแพะ บัญชีสมาชิก บัญชีหุ้น และการจดบันทึกฟาร์ม ทุกกระบวนการให้กลุ่มมีสวนร่วมและมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนการนำมาใช้ในการดำเนินการของกลุ่ม แต่ละกลุ่มจึงมีวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น กฎกติกาในการรับผลประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา หรือกลุ่มแพะปันปัน น้ำตกมโนราห์ มีการแบ่งสัดส่วนรายได้คือ คณะกรรมการ 40% : ผู้เลี้ยงแพะของกลุ่ม 40% : สมาชิก 20% กลุ่มตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน หรือกลุ่มแพะฮาดีหย๊ะ เกาะนางคำ การแบ่งสัดส่วนรายได้คือ คณะกรรมการ 30% : ผู้เลี้ยงแพะของกลุ่ม 40% : สมาชิก 20% : สวัสดิการกลุ่ม 10% เป็นต้น

รูปธรรมมูลค่าที่สร้างความ “งอกงาม”หยั่งรากมาจากเนื้อนาบุญ “คุณค่า” ที่แปลกใหม่ ? ของคนจน คนเปราะบาง ที่ลุก-รุกสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ในทิศทางแห่ง “ความหวัง” ที่พูดกันอย่างกว้างขวางในแวดวงชุมชน-คนทุกข์...“กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด”

Relate topics