The Agenda South

ส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ และเขียนบทใหม่ที่สวยงามสำหรับจีน-ไทย

by sorawit @25 ก.พ. 2567 10:01 ( IP : 223...32 ) | Tags : ทัศนะ - สนทนา
photo  , 960x960 pixel , 106,782 bytes.

โดย.. อู๋ ตงเหมย กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลา

การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติเป็นภูมิปัญญาของจีนเพื่อจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วมสมัยตามแนวโน้มทั่วไปของสันติภาพและการพัฒนาของโลก และเป็นแนวทางของจีนที่จะสนับสนุนให้ทุกประเทศทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตน และแบ่งปันอนาคตที่สดใสและความเจริญรุ่งเรือง

10  ปีก่อน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอแนวคิดนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นการตอบคำถามระดับโลก คำถามแห่งประวัติศาสตร์และคำถามขอยุคสมัยที่ว่า “มนุษย์จะพัฒนาไปทิศทางไหน”

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แนวคิดนี้ได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และได้ก้าวหน้าบนพื้นฐานของการปฏิบัติจริงเรื่อยมา จนเป็นที่นิยมในหมู่คนมากขึ้น ในการประชุมด้านการต่างประเทศของรัฐบาลกลางที่กรุงปักกิ่งเมื่อไม่นานที่ผ่านมา ได้อธิบายอย่างละเอียดและสรุปอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ และชี้ชัดถึง “4 คาน 4 เสา” ว่าด้วยการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติไว้อย่างเป็นระบบ กล่าวคือ มีเป้าหมายคือการสร้างโลกที่มีสันติภาพอย่างยั่งยืน มีความมั่นคงเป็นพื้นฐาน มีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน มีความเปิดกว้างและไม่แบ่งแยก มีความสะอาดและสวยงาม มีแนวทางปฏิบัติคือการบริหารทั่วโลกที่ส่งเสริมการร่วมหารือ ร่วมสร้างและร่วมรับประโยชน์ ยึดถือการตระหนักและปฏิบัติตามค่านิยมร่วมของมวลมนุษยชาติ มีการส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่เป็นเครื่องค้ำจุนพื้นฐาน มีการสืบสานข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาของโลก

ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงของโลก และข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมของโลกเป็นนโยบายชี้นำ มีการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูงเป็นแนวปฏิบัติจริง ส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ทำงานร่วมกันเพื่อรับมือกับความท้าทายและบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติสะท้อนถึงแนวโน้มทางประวัติศาสตร์และความปรารถนาร่วมกันของผู้คน ในโลกปัจจุบัน มีทั้งความขัดแย้งใหม่และเก่าผสมปนเปกัน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเชื่องช้า มีการขยายตัวของแนวคิดกีดกันทางการค้ารูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มีการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดและการส่งต่อความขัดแย้ง ซึ่งล้วนเป็นปรากฏการณ์ที่น่ากังวลอย่างยิ่ง ด้วยภูมิหลังเช่นนี้ ทำให้ประเทศต่างๆ จำนวนมากขึ้นตระหนักดีว่าชะตากรรมของโลกควรได้รับการควบคุมร่วมกันโดยทุกประเทศ และทุกคนจะต้องสร้างอนาคตของโลกร่วมกัน

เราชูธงในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ บูรณาการการพัฒนาของจีนกับการพัฒนาของโลก และผสมผสานผลประโยชน์ของชาวจีนและผู้คนทั่วโลก สร้างฉันทามติระหว่างประเทศที่ขยายวงมากขึ้น เสนอแนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และส่งเสริมให้ทุกประเทศทำงานร่วมกันเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายและบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติเป็นแนวคิดหลักของการทูตของสี จิ้นผิง และเป็นเป้าหมายอันสูงส่งของการทูตของประเทศขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะของจีนในยุคใหม่ เราได้สร้างประชาคมในรูปแบบต่างๆ ที่มีอนาคตร่วมกันกับหลายสิบประเทศและภูมิภาค ส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในด้านสุขภาพ ผู้คนและธรรมชาติ เครือข่าย มหาสมุทร ฯลฯ และชี้ชัดถึงทิศทางความพยายามของเราและสร้างคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาร่วมกันของสังคมมนุษย์ ความมั่นคงในระยะยาว และการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอารยธรรม

เราประสบความสำเร็จในการจัดการประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 3  มีการลงนามเอกสารความร่วมมือ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับประเทศมากกว่า 150 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 30 องค์กร และสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างประเทศที่กว้างขวางที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก

การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติได้ขยายตัวจากข้อริเริ่มของจีนไปสู่ฉันทามติระดับนานาชาติ จากวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติที่หลากหลาย จากข้อเสนอไปสู่ระบบที่เป็นวิทยาศาสตร์ และได้กลายเป็นเรือธงอันรุ่งโรจน์ที่ชี้นำความก้าวหน้าของยุคสมัย ตอบสนองต่อความปรารถนาทั่วไปของประชาชนทุกประเทศในเรื่องสันติภาพ การพัฒนา และการส่งเสริมความร่วมมือ

มิตรภาพจีน-ไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และมิตรภาพจีน-ไทยหยั่งรากลึกอยู่ในหัวใจของทั้งสองชนชาติ ในโอกาสที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2565 ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศจะร่วมกันสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกัน

เมื่อปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ของไทยได้เดินทางเยือนจีนและได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันกับผู้นำจีนเกี่ยวกับความร่วมมือและการพัฒนาระหว่างทั้งสองประเทศ โดยยึดหลักความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย จีนและไทยมีการแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างลึกซึ้งต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ

**จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแหล่งนำเข้าที่ใหญ่ที่สุด เป็นแหล่งเงินทุนต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุด ประเทศไทยตั้งอยู่ที่จุดสำคัญของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และเป็นผู้มีส่วนร่วมและผู้รับประโยชน์จาก “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” **

การร่วมสร้าง“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ระหว่างจีนและไทยมีความก้าวหน้าอย่างรอบด้าน โครงการสำคัญ เช่น รถไฟจีน-ไทย ก็ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนจีนและไทยมีความใกล้ชิดกัน โดยมีนักท่องเที่ยวชาวจีนมากกว่า 3 ล้านคนเดินทางมาเยือนประเทศไทยในปี 2566 เมื่อเดือนที่แล้วจีนและไทยเพิ่งลงนามข้อตกลงยกเว้นวีซ่าร่วมกัน ทั้งสองประเทศกำลังจะเข้าสู่ “ยุคปลอดวีซ่า” และนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มายังประเทศไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประชาชนทั้งสองจะใกล้ชิดกันมากขึ้น และความเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ระหว่างจีน-ไทยจะใกล้ชิดกันมากขึ้น

แม้ว่าสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันจะซับซ้อนและรุนแรง แต่จีนและไทยยังคงยืนข้างความถูกต้องอย่างสร้างสรรค์ และก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เราเชื่อมั่นว่ามิตรภาพจีน-ไทยไม่เพียงแต่จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่มากขึ้นแก่ประชาชนของทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ยังจะเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นใจให้แก่โลกที่ผันผวนวุ่นวายอีกด้วย

จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศไทยเพื่อก้าวไปข้างหน้าในทิศทางร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ และร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับมนุษยชาติ

Relate topics