งานในอนาคตกับการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล
ทัศนะ โดย.. ผศ.ดร.โสภิณ จิระเกียรติกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และ อาจารย์พัลลภัช เพ็ญจำรัส คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด
บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง “เศรษฐกิจดิจิทัลของภาคการเงิน” ภายใต้แผนงานอาเซียนในกระแสแห่งความพลิกผัน ระยะที่ 2 เรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลและงานในอนาคต : การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการเงิน กรณีศึกษาประเทศอินโดนีเซีย ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2565 โดยอาศัยกรอบแนวคิดจากประเด็นนัยของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินผ่านมุมมองจากประเทศอินโดนีเซีย เรื่อง พัฒนาการและการเปลี่ยนผ่านลักษณะงาน เส้นทางอาชีพสำหรับตลาดแรงงานในภาคการธนาคาร และทิศทางของตลาดงานในอนาคตในประเทศอินโดนีเซียที่เป็นผลจากการมีธุรกรรมภาคการเงินดิจิทัล
๐ อะไรคือช่องว่างของการนำไปสู่การผลิตบุคลากรดิจิทัล?
ประเทศอินโดนีเซียได้ตั้งเป้าหมายแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลขั้นกลางและขั้นสูงที่ร้อยละ50 ภายในปี 2567 ปัจจุบันร้อยละ 50 ของกำลังแรงงานในอินโดนีเซียมีทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐานถึงระดับกลาง ในขณะที่ทักษะดิจิทัลขั้นสูงมีน้อยเพียงร้อยละ 1 อุปสรรคที่สำคัญคือมากกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานในปัจจุบันเป็นแรงงานที่มีระดับการศึกษาต่ำ ซึ่งไม่ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในงานหลักของพวกเขา จึงเป็นเรื่องยากในการยกระดับทักษะหรือเข้าร่วมโปรแกรมความรู้ทางดิจิทัล ประกอบกับการไม่มีกระบวนการพัฒนาบุคคลากร จากเจ้าของธุรกิจที่เห็นว่าเป็นการลงทุนที่ยังไม่คุ้มที่จะเสี่ยง
นอกจากนี้ หลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันยังไม่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานดิจิทัล ยังขาดการสอนทักษะที่สำคัญอย่างเช่น การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจำเป็นมากขึ้นเพื่อให้ทันกับความท้าทายและการแข่งขันที่เผชิญในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน การขาดแรงจูงใจในการนำวัฒนธรรมการยกระดับทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้ในระบบการศึกษาในอินโดนีเซีย จึงทำให้อัตราการปรับตัวเข้ากับภูมิทัศน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นไปอย่างเชื่องช้า
ประการต่อมา คือ โปรแกรมอบรมทักษะขั้นสูงถูกจำกัดให้กับเฉพาะคนที่มีวุฒิการศึกษาระดับสูง (แรงงานที่มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 2 เท่านั้นที่ได้รับการฝึกอบรมทักษะด้านไอซีที
ในขณะเดียวกัน พนักงานที่มีอนุปริญญาหรือปริญญาในมหาวิทยาลัย ร้อยละ32 ได้รับการฝึกอบรม) ซึ่งปัญหานี้รัฐบาลรับทราบและมีแผนการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต ผ่านโปรแกรมการฝึกงาน และการฝึกภาคสนามจากประสบการณ์จริงในการลงมือทำ
๐ งานในอนาคตกับการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล
โดยรวม อุตสาหกรรมการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซียคาดว่า จะสร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ในภาคส่วนต่างๆ โดยเน้นเป็นพิเศษในด้านเทคโนโลยี การตลาด และการบริการลูกค้า การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มที่จะมาพร้อมกับนวัตกรรมและการพลิกโฉม ซึ่งสร้างความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พนักงานในธุรกิจการชำระเงินดิจิทัล
อย่างไรก็ดี ยังมีข้อจำกัดอีกมากมายที่จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล รัฐบาลอินโดนิเซียที่จะต้องสร้างสมดุลให้กับการพัฒนากำลังคนกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่เช่นนั้นจะเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงตำแหน่งงานดิจิทัลในอนาคต
กล่าวโดยสรุป ภาพรวมทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสถานการณ์ทักษะดิจิทัลในอินโดนีเซีย ยังคงเป็นความท้าทายและข้อจำกัดในการพัฒนาทักษะดิจิทัล กลยุทธ์เบื้องต้นซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะด้านดิจิทัลในอินโดนีเซียยังคงต้องได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง ในงานศึกษาอย่างเป็นทางการพบว่า การฝึกอบรมสายอาชีพ และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ เป็นสามช่องทางในการเสริมสร้างความรู้ด้านดิจิทัลและทักษะด้านดิจิทัล (The SMERU Research Institute, 2022) โดยเป็นรูปแบบในการพัฒนาที่ผสมผสานทั้งในด้าน (1) การครอบคุลมด้านดิจิทัลให้กับพลเมืองทุกกลุ่ม (digital inclusion) และในทุกภาคการผลิตโดยเฉพาะในภาคเกษตร (2) การมีความรู้ในเรื่องดิจิทัล (digital literacy) และ(3) การส่งเสริมสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับแรงงาน (digital competency in the workforce)
๐ ถอดบทเรียนสู่แนวนโยบายสู่งานในอนาคตและการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในระดับสากล
การลงทุนในทักษะสำหรับอนาคตที่มากขึ้น โดยการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นทิศทางงานในอนาคตที่ประเทศต่างๆ ที่กำลังพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (รวมถึงกรณีประเทศไทยด้วย) จำเป็นต้องมีระบบการคาดการณ์ทักษะ เพื่อทำความเข้าใจความต้องการในปัจจุบันและอนาคตได้ดียิ่งขึ้นในทุกระดับ ไม่ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและคณาจารย์ ส่งเสริมให้ผู้หญิงเรียนสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์มากขึ้น (STEM) และเพิ่มการมีโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมในอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มีการจัดการกับช่องว่างทักษะระหว่างทักษะที่ได้รับในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอาชีวศึกษาและทักษะที่อุตสาหกรรมต้องการ เพิ่มจุดเน้นของการฝึกอบรมและการศึกษาทักษะด้าน soft skill และลงทุนในระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีประสิทธิภาพและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องในด้าน ICT (ILO, 2022)
เพื่อให้ตลาดแรงงานเติบโตและสอดรับกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของภาคการเงินการธนาคารในอนาคต
Relate topics
- สำนวน “ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมือง” กับวลีเด็ด “โจรกระจอก”**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- ฤๅ “คดีตากใบ” ไม่ต่างจากเอาเบนซินไปราดดับไฟใต้?!**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- กำลังการผลิตคุณภาพใหม่ช่วยพัฒนาประเทศจีน สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่โลก**โดย.. อู๋ ตงเหมย
- ห้วงเวลา “เปลี่ยนแปลงใหญ่” บนแผ่นดินไฟใต้?!**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- จับตา “ตุลาเดือด” โหมไฟใต้โชนเปลวทัศนะ: **ไชยยงค์ มณี
- แนะ 2 เรื่องให้ “รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง” ทำเพื่อยุติการค้าสงครามชายแดนใต้**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- “อุ๊งอิ๊ง” กับภารกิจลบข้อหาพ่อจุดไฟใต้ระลอกใหม่**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- 3 เรื่อง 2 แนวทางที่รัฐบาลต้องทำเพื่อดับไฟใต้**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- คาร์บอมบ์แฟลตตำรวจฉุดความเชื่อมั่น “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” สู่ก้นเหวทัศนะ : **ไชยยงค์ มณ
- รัฐบาลและกองทัพควรนำกระเช้าไปกราบขอบคุณผู้นำบีอาร์เอ็น?!**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- จับตา “กองทัพ” ขอเพิ่มงบไล่ให้ทันพัฒนาการแบ่งแยกดินแดน**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- “ครม.ใหม่” ไม่ยึดโยง “มาตรการดับไฟใต้”**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- จากลูกแม่ค้าน้ำผึ้งแว่นสู่คหบดีพันล้าน ‘ผู้ใจบุญแห่งภาคใต้’ มุ่งบริจาคเพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ ด้วยการยึดมั่น “ยิ่งให้ยิ่งได้”โดย.. **ไชยยงค์ มณีร
- ทำไมไฟใต้ยิ่งโชนเปลวตลอดช่วง 7 เดือนของ “รัฐบาลตระบัดสัตย์”**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- สิ่งที่แอบแฝงกับการฝึก “คอบร้าโกลด์” ไทย-สหรัฐฯ คือการตั้ง ‘ฐานทัพ’ ในไทยใช่หรือไม่?!**ทัศนะ โดย.. เมือง
- หยุด “รอมฎอนเลือด” ทำลายการบ่มเพาะ “นักรบหน้าขาว”**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- จาก “รอมฎอนเลือด” ถึง “สงกรานต์-เข้าพรรษาเดือด”**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- หยุดพิธีศพบิดเบือนไม่ได้ อย่าหวังไฟใต้จะมอดดับ**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- ชำแหละ “แผน JCPP” หยุดฝันบีอาร์เอ็นลงนามด้วย**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- ส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ และเขียนบทใหม่ที่สวยงามสำหรับจีน-ไทย**โดย.. อู๋ ตงเหมย ก
- “ช้างเหยียบนา พญาเหยียบเมือง” ท่ามกลางความระอุอ้าวบนแผ่นดินไฟใต้ทัศนะ: **ไชยยงค์ มณี
- มองทะลุฉากหลัง “กระบวนการเจรจา” กับบีอาร์เอ็น**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- ปัญหาของ “โคบาลชายแดนใต้” อยู่ที่เกษตรกร ‘ระบบราชการ’ หรือบริษัทผู้เป็นเจ้าของวัว**โดย.. ไชยยงค์ มณีพ
- ทำไม “รัฐบาลนิดหนึ่ง” ยังงมโข่งอยู่กับวิกฤตไฟใต้**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- “ปีมังกรทอง” หรือ “ปีมังกรไฟ” ที่ชายแดนใต้?!**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- เก็บซับ “บทเรียน” จากอุทกภัยใหญ่ไปใช้ “ดับไฟใต้”**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- ต้อนรับก้าวใหม่ของการร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”โดย.. **อู๋ ตงเหมย ก
- อย่าทน! กลไกรัฐพิการ เพื่อนบ้านซ่อนดาบในรอยยิ้ม**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- ล้าง “กลุ่มนายพลผลประโยชน์” จากคณะพูดคุยสันติสุขพลเรือน?!**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- เล่าเรื่องประชาธิปไตยคนจน-ธนาคารแพะหวะแก้จน (จบ)**ทัศนะ โดย.. รองศาส
- เล่าเรื่องประชาธิปไตยคนจน-ธนาคารแพะหวะแก้จน (2)ทัศนะ โดย.. **รองศาส
- ข้อท้าทายของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย : ภารกิจและบทบาทของกระทรวงยุติธรรมโดย.. **พันตำรวจเอก
- เล่าเรื่องประชาธิปไตยคนจน-ธนาคารแพะหวะแก้จน (1)**ทัศนะ โดย.. รองศาส
- พัฒนาการธุรกรรมกับช่องทางการเงินดิจิทัลจากประเทศอินโดนีเซียสู่ประเทศไทย**ทัศนะ โดย.. ผศ.ดร.
- “รัฐบาลนิดหนึ่ง” เป็นร่างทรง “ร้าบานบิ๊กตู่” นำไฟใต้สู่ยุคมืด**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ
- อย่าฝันไฟใต้จะดับเพราะรัฐบาลพลเรือนใต้ปีก “ระบอบทักษิณ” ใต้บงการ “กองทัพ”**ทัศนะ : ไชยยงค์ มณ